ผลการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กฎหมายและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

Authors

  • อนิรุทธ์ สติมั่น ประภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สุรพล บุญลือ ประภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ทิพย์รัตน์ สิทธิวงศ์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

Problem-based learning, Online Instruction, Self-directed learning, Learning Achievement, Satisfaction

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการเรียนรู้แบบนำตนเองระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กับกลุ่มควบคุมที่เรียนในชั้นเรียนแบบปกติ รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 468102 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 92 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆทดลอง 46 คนและกลุ่มควบคุม 46 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, S.D., t-test

ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่พัฒนาขึ้น ได้รูปแบบขั้นตอนหลัก 5 ขั้นและ 16 องค์ประกอบย่อย การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากและการหาประสิทธิภาพของบทเรียนได้เท่ากับ 80.22/84.22 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่าหลังเรียนแตกต่างกับก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) การเปรียบเทียบคุณลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเองในกลุ่มทดลองก่อนเรียนกับหลังการเรียน พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและคุณลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเองหลังเรียนกลุ่มทดลองเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ (5) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กฎหมายและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมาก

 

Abstract


      The purposes of this research study were: (1) to develop an online instruction by problem-based learning activities model, (2) to compare pretest and posttest of learning achievement students who received the online instruction by problem-based learning activities, (3) to compare pretest and posttest of self-directed learning students who received the online instruction by problem-based learning activities, (4) to compare self-directed learning and learning achievement between the online instruction by problem-based learning activities and the traditional problem-based learning activities, and (5) to study the students satisfaction toward the online instruction by problem-based learning model. The subjects were 92 students who were enrolled in the 468102 computer for education course, during the second semester of the academic year 2007, the Faculty of Education, Silpakorn University. Two classes were assigned to the experimental group (n=46) and control group (n=46) by simple random sampling. Data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-test statistics.

Results of the research were as follows: (1) The developed online instruction model by problem-based learning activities should be included the 5 principal components and 16 subcomponents. Design of problem-based learning method was approve by expert. Efficiency of the online instruction by problem-based learning activities developed the researcher was 80.22/84.22 that compounded with the criteria. (2) Posttest of the learning achievement of online instruction by problem-based learning activities was higher than pretest at 0.01 level of significance. (3) There was significant difference of learning achievement between online instruction by problem-based learning activities and the traditional problem-based learning activities. (4) There was non significant between pretest and posttest of self-directed learning score of online instruction problem-based learning activities. There was non significant difference of self-directed learning between the online instruction by problem-based learning activities and the traditional problem-based learning activities. (5) The students who learn via online instruction by problem-based learning activities on Law and ethics in information technology lessons had high satisfaction. 


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อนิรุทธ์ สติมั่น, ประภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุรพล บุญลือ, ประภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ทิพย์รัตน์ สิทธิวงศ์, ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-04-03

How to Cite

สติมั่น อ., บุญลือ ส., & สิทธิวงศ์ ท. (2015). ผลการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กฎหมายและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 1(1, January-June), 118–136. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32799