ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (THE EFFECT OF USING CONTEXT-BASED LEARNING ACTIVITIES ON GRADE-11 STUDENT LEARNING ACHIEVEMENT IN CHEMISTRY)
Keywords:
Context-based learning, Learning achievement, ChemistryAbstract
บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 41 คน หลังจากเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ครอบคลุม 7 แนวคิดย่อย ในเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจคำตอบของนักเรียนแล้วคำนวณหาค่าร้อยละของนักเรียนที่มีแนวคิดถูกต้องในแต่ละแนวคิดย่อย ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานช่วยทำให้นักเรียนมีแนวคิดถูกต้องเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น โดยก่อนเรียนมีนักเรียนร้อยละ 30.29 ที่มีแนวคิดถูกต้อง ส่วนหลังเรียนนักเรียนมีแนวคิดถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 64.72 โดยแนวคิดเรื่องพลังงานกับการดำเนินไปของบฏิกิริยาเป็นแนวคิดที่นักเรียนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ แนวคิดเรื่องความหมายของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีตามลำดับ อย่างไรก็ตามยังมีนักเรียนครึ่งหนึ่งที่มีแนวคิดคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี การวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และกลไกของปฏิกิริยาเคมี
Abstract
The purpose of this research was to investigate the effect of using context-based learning activities in chemistry, resulting in the hight achievement of forty-one grade 11 students from a school under the office of Nonthaburi Educational Zone 2, in the first semester of the academic year 2009. The data were obtained by a chemistry achievement test. The test included thirty-multiple choice questions the covered seven concepts about rate of the chemical reactions. The percentage of students whose accurate understanding in each concept were analyzed and presented. The results showed that the students had the post-test chemistry learning achievement higher than the pre-test, which are 64.72% and 30.29%, respectively. The percentage of students scores on the achievement tests ranged from the highest level to the lowest level were the concept of energy, with reaction coordinate, the concept of meaning of rate of reaction, rate law and order of reaction, factors that effect on rate of reaction, respectively. However, half of students still hold misunderstanding in concept of reaction occurrence, measuring rate of reaction and reaction mechanism.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.