ความสัมพันธ์ระหว่าง การบริหารจัดการยุทธศาสตร์การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ครูและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกับภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ทัศนา แสวงศักดิ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สมชาย เทพแสง ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

strategic management, teacher empowerment, continuous improvem

Abstract

บทคัดย่อ
      การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ครูและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกับภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนและศึกษาความสามารถในการพยากรณ์ของการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ครูและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องที่มีต่อภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 242 คน และ ครู จำนวน 375 คน รวม 617 คน หลังจากนั้นผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นชั้นในการสุ่ม เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างแบบสอบถามที่นำมาใช้ผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์คุณภาพและความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน โดยการหาค่าดัชนี Index of Item-Objective Congruence; IOC และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และทดสอบค่าพยากรณ์ด้วยการหาค่าสมการถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Blockwise การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ระดับของภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก การบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ครูและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับความสัมพันธ์สูงสุดไปยังต่ำสุดดังนี้ การ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (r = 0.88) การบริหารจัดการยุทธศาสตร์ (r = 0.83) และการเสริมสร้างพลังอำนาจให้ครู (r = 0.82) และการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ครูและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องร่วมกันพยากรณ์ต่อภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 78 ( R= 0.78) ส่วนผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนพบว่าภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหาร โรงเรียนใช้หลัก 9 ป ดังนี้ 1) เป้าหมาย ยึดวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการบริหารงาน 2) ประสานสัมพันธ์ ประสานงาน สร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรอย่างใกล้ชิด 3) ปณิธาน มีปณิธานและความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน 4) ประเมินผล ใช้สารสนเทศ สถิติ งานวิจัยในการประเมินผลและตัดสินใจ 5) ประคับประคอง ให้ความช่วยเหลือลูกน้องอย่างทั่วถึง 6) ประชาสัมพันธ์ เน้นกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 7) ปูนบำเหน็จ ส่งเสริมขวัญกำลังใจและใช้แรงจูงใจทางบวกในการบริหารงาน 8) เปลี่ยนแปลง ใช้หลักการบริหารการเปลี่ยนแปลง 9) ประชาชน คำนึงถึงลูกค้าเป็นสำคัญทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน

 

 

Abstract

 
      The purposes of this study were to investigate relationships between strategic management, teacher empowerment, continuous improvement and quality leadership of school administrators under the office of Bangkok Educational Service Area; investigate the level of quality leadership of school administrators and investigate prediction for ability of strategic management, teacher empowerment, continuous improvement to the quality leadership of school administrators under the office of Bangkok Educational Service Area. The samples consisted of 242 school administrators and 375 teachers by using Krejcie & Morgan to define  the sample size. The stratified random sampling by using Bangkok Educational Service Area Office for Stratra process. The instruments used for data collection were two-fold; 5 point-rating scale questionnaire and unstructural-interview. The data analysis by using SPSS for Windows Versions 11.0. The level of quality leadership were analysed by mean and standard deviation. The relationships between strategic management, teacher empowerment, continuous  improvement and quality leadership of school administrators school were analysed by multiple Corelation and the prediction for ability of strategic management, teacher empowerment, continous improvement to the quality leadership of school administrators were analyzed by multiple regression with Blockwise method. Unstructural-Interview used for content analysis.The research results found that the level of quality leadership of school administrators were at a high level, The strategic management, teacher empowerment and continuous improvement were positively correlated significantly at 0.01 level with quality leadership of school administrators When considered each aspect, it was found that the continuous improvement was positively correlated with r = 0.88, the  strategic management with r = 0.83 and teacher empowerment with r =  0.82 respectively. The strategic management, teacher empowerment and continuous improvement mutually predict the quality leadership of school administrators with the percentage of 78 (R2 = 0.78) The unstructural-interview found that the quality leadership of school administrators used 9P principles for management as following: 1) point 2) personal relation 3) persevere 4) ponderation 5) promotion 6) public relation 7) prize 8) principal of change 9) people.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ทัศนา แสวงศักดิ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สมชาย เทพแสง, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-04-08

How to Cite

แสวงศักดิ์ ท., & เทพแสง ส. (2015). ความสัมพันธ์ระหว่าง การบริหารจัดการยุทธศาสตร์การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ครูและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกับภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 2(supplement 1, January), 74–84. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32881