การจัดการการท่องเที่ยวในพระอารามหลวงชั้นเอก ในเกาะรัตนโกสินทร์ (TOURISM MANAGEMENT OF THE ROYAL TEMPLES ON THE RATTANAKOSIN ISLAND)

Authors

  • บุญพิเชษฐ์ จันทร์เมือง หลักสูตรการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • รักชนก โคโต ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุภาพร สุกสีเหลือง สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Tourism resources, Royal temple, Rattanakosin island, Tourism management, Cultural tourism

Abstract

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและประเมินศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวและการจัดการการท่องเที่ยวของพระอารามหลวงชั้นเอกในเกาะรัตนโกสินทร์ 7 วัด 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวในพระอารามหลวงชั้นเอกในเกาะรัตนโกสินทร์ พระอารามหลวง 7 วัด ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ราชวรมหาวิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระภิกษุ เจ้าอาวาส หรือคณะกรรมการของพระอารามหลวง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพระอารามหลวงชั้นเอกทุกวัด มีศักยภาพที่โดดเด่น ซึ่งทางภาครัฐพร้อมให้การสนับสนุน ภาคเอกชนมีความสนใจร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวปลาบปลื้มในความงดงามของพระอาราม แต่ในด้านการบริการท่องเที่ยวของพระอารามส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน ยกเว้นวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เนื่องจากความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้องยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่เหมาะสมในทิศทางเดียวกันได้ ระหว่างแนวคิดการอนุรักษ์กับแนวคิดเพื่อการพัฒนารวมถึงการใช้อำนาจบริหารสั่งการต่างๆ ของวัด แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวภายในพระอารามหลวงนั้น ควรเน้น 1) การชื่นชมศิลปกรรมต่างๆ 2) การนมัสการไหว้พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3) การฝึกสมาธิภาวนาในวันหยุดและวันพักผ่อน 4) สิ่งที่นักท่องเที่ยวควรได้รับในการมาท่องเที่ยวคือความเพลิดเพลิน คติธรรม เกร็ดความรู้ทางศาสนาที่ประกอบด้วยประวัติศาสตร์ที่ละเอียดลึกซึ้ง และ 5) ควรปรับปรุงด้านการบริการท่องเที่ยวของวัดที่ยังไม่เป็นที่ดึงดูดใจเพื่อสร้างมาตรฐานแรงจูงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการสาธารณูปโภค


 

Abstract


     The purposes of this research were 1) to survey and evaluate the potential of the tourism resources and tourism management of the royal temples on the Rattanakosin Island 2) to study tourist’s opinion on tourism management and 3) to propose tourism management guidelines for the royal temples on the Rattanakosin Island. The seven royal temples were as follows; 1) Wat Phra Sri Rattana Satsadaram, 2) Wat Phra Chetuphon Wimolmangklararm, 3) Wat Suthat Thepwararam Rajaworamahavihara, 4) Wat Mahathat Yuwarajarangsarit Rajaworamahavihara, 5) Wat Ratchapradit Sathitmahasimaram Rajaworavihara, 6) Wat Rajabopit Sathitmahasimaram Rajaworavihara and 7) Wat Bowonniwet Vihara Rajavaramahavihara. The sample groups were the abbots or the temples’ committee, the royal monarch officials and the tourists. The research instruments were a survey on tourism resources, the interviews and the questionnaires. The results of this research showed that all the royal temples have high potential of cultural tourism resources. Both public and private sectors are willing to provide a full support on the tourism development. Tourists are amazed with beauty of these temples. However, it is found that tourism services in most temples except Wat Phra Sri Rattana Satsadaram and Wat Phra Chetuphon Wimolmangklararm do not comply with the standards because stakeholders have different opinions on how tourist resources should be properly managed. The guidelines for tourism development should be emphasized on: 1)Thai fine arts and it’s architecture; 2) an act of homage to the Buddha and the sacred icons; 3) meditation practices for mindfulness on holidays; 4) tourists’ appreciation from gaining the knowledge on Buddhism’s history and its philosophy; and 5) service improvement especially infrastructure development.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

บุญพิเชษฐ์ จันทร์เมือง, หลักสูตรการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รักชนก โคโต, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุภาพร สุกสีเหลือง, สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-04-08

How to Cite

จันทร์เมือง บ., โคโต ร., & สุกสีเหลือง ส. (2015). การจัดการการท่องเที่ยวในพระอารามหลวงชั้นเอก ในเกาะรัตนโกสินทร์ (TOURISM MANAGEMENT OF THE ROYAL TEMPLES ON THE RATTANAKOSIN ISLAND). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 2(supplement 1, January), 96–108. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32883