การพัฒนารูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทย (THE CONTRUCTION OF A MULTIPLE INTELLIGENCES MODEL FOR LEARINING IN THAI SOCIETY)

Authors

  • เยาวพา เดชะคุปต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Research and Development, Theory of Multiple Intelligences, A Multiple Intelligences Model for Learning in Thai Society, ACACA Model. An instructional model

Abstract

บทคัดย่อ
     การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดศึกษาในบริบทของสังคมไทย ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และเพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การพัฒนาโครงร่างรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทย ตอนที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพโครงร่างรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทย ตอนที่ 3 การปรับปรุงโครงร่างรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทย ตอนที่ 4 กระบวนการเผยแพร่โครงร่างรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพโดยการจัดการอบรมปฏิบัติการ โดยการอบรมปฏิบัติการแก่ครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ตอนที่ 5 การสรุปรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ได้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทยที่พัฒนาขึ้น รูปแบบรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ หรือรูปแบบ ACACA เป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นโดยมีพื้นฐานในการพัฒนาพหุปัญญาตามแนวคิดทฤษฎีของโฮเวิร์ดการ์ดเนอร์และแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพและความถนัดของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 9 ด้าน ซึ่งมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักการ 5 ขั้น โดยใช้อักษรย่อว่า ACACA ดังนี้ ขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) 2) ขั้นผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มย่อย (Cooperative Learning) 3) ขั้นผู้เรียนวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ (Analysis) 4) ขั้นผู้เรียนสามารถสรุปและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) 5) ขั้นผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีความหมาย (Application) 2. การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทย ผลการประเมินพบว่ารูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทย มีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้ 2.1 นักเรียนมีความสามารถทางพหุปัญญา 9 ด้าน ประกอบด้วย ปัญญาด้านภาษา ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ปัญญาด้านดนตรี ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ปัญญาด้านมิติ ปัญญาด้านความเข้าใจระหว่างบุคคลหรือด้านมนุษยสัมพันธ์ ปัญญาด้านตนเองหรือด้านความเข้าใจตนเอง ปัญญาด้านธรรมชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัญญาด้านอัตถภวนิยม จิตนิยม หรือการดำรงคงอยู่ของชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้จากการสนทนากับนักเรียน จำนวน 92 คน พบว่า หลังการทดลองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมาก มีจำนวนร้อยละ 78.2–85.1 2.3 ครูที่ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก 3. ผลจากการนำรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ไปเผยแพร่ โดยการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา 2 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 พหุปัญญาพื้นฐานที่เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา ความสามารถทางพหุปัญญา 9 ด้าน และรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ และเรื่องที่ 2 คือ การพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สนใจเข้าร่วมโครงการมีความรู้ และความพึงพอใจในรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ในระดับมาก


Abstract
     The objectives of this research were to construct a research and development study on constructing an instructional model entitled: “A Multiple Intelligences Model for Learning in Thai Society” and to test the reliability of the model. The research process were composed of 5 stages as follows: Stage I: Constructing the draft of a Multiple Intelligences Model for Learning in Thai Society; Stage II: Testing the reliability of the model; Stage III: Revision of the draft of the Multiple Intelligences Model for Learning in Thai Society; Stage IV: The expansion of the model to public by conducting 2 workshops on basic knowledge and the curriculum development based on the Multiple Intelligences Model for Learning in Thai Society; and Stage V: The conclusion of “A Multiple Intelligences Model for Learning in Thai Society”. The research result revealed that: A Multiple Intelligences Model for Learning, or the ACACA Model, was an instructional model constructed based on multiple intelligences and learning theories to enhance students’ multiple intelligences and studentcentered approach. The model consisted of 5 steps of instruction: Active learning, Cooperative learning, Analysis, Constructivism, and Analysis. The model was successfully used with kindergarten children who purposively selected as sample to test the efficiency of the research. In the stage of expansion the model to the public, teachers, educators and administrators who attended the workshops showed their knowledge and appreciation to the model.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

เยาวพา เดชะคุปต์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Published

2015-04-08

How to Cite

เดชะคุปต์ เ. (2015). การพัฒนารูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทย (THE CONTRUCTION OF A MULTIPLE INTELLIGENCES MODEL FOR LEARINING IN THAI SOCIETY). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 2(supplement 1, January), 133–145. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32889