แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของจังหวัดนนทบุรีภายใต้การจัดการและการมีส่วนร่วมของประชาชน (GUIDELINES FOR ECOTOURISM DEVELOPMENT OF NONTHABURI PROVINCE UNDER COMMUNITY’S MANAGEMENT AND PARTICIPTION)
Keywords:
Ecotourism, Potentiality, Community participationAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว ความต้องการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณแหล่งท่องเที่ยวและเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนนทบุรี พื้นที่วิจัย คือ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ 4 แหล่ง ในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย 1) วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร 2) วัดสวนแก้ว 3) เกาะเกร็ด และ 4) ตลาดน้ำไทรน้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 4 กลุ่ม ได้แก่ องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน ประชาชนทั่วไปในแหล่งท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัย 3 ชิ้น ได้แก่ แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยวและแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น ผลการสำรวจศักยภาพและทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่วิจัยพบว่า เกาะเกร็ดและวัดสวนแก้ว มีศักยภาพระดับสูง ส่วนวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารและตลาดน้ำไทรน้อย มีศักยภาพระดับ ปานกลาง แหล่งท่องเที่ยวทั้ง 4 แห่ง มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนนทบุรี ส่วนผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการพัฒนาในด้านความปลอดภัยและระบบสาธารณูปโภค ด้านผลการศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่วิจัยพบว่า ต้องการให้มีการจัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างยุติธรรมแก่ชุมชนและทุกคนที่เกี่ยวข้อง (3.66±1.00) รองลงมา คือ ต้องการมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว (3.65±1.09) และต้องการให้มีการประเมินผลกระทบที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (3.55±1.05) ส่วนแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่วิจัย 4 แหล่ง ควรกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา 5 ด้าน คือ 1) กลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2) กลยุทธ์ในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว 3) กลยุทธ์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความรู้แก่ชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 4) กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนและการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม และ 5) กลยุทธ์ในการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์
Abstract
The purposes of this research were to study the potentiality of tourism resources; the need of the community in developing attractions; the need of the community in involving in ecotourism development in attractions as well as to propose the guidelines for ecotourism development in Nonthaburi province. The sampling areas were 1) Wat Chaloem Phra Kiat Worawiharn, 2) Wat Suan Kaew, 3) Koh Kred and 4) Sai Noi floating market. There were 400 samples including government officers, private sector officials, local people and tourists. Tourism resource audit, tourism facility audit and questionnaires were conducted to obtain the data. The results from the tourism resource audit and the tourism facility audit showed that the potentiality of Koh Kred and Wat Suan Kaew are high. The potentiality of Wat Chaloem Phra Kiat Worawiharn and Sai Noi floating market are medium. The results of the study showed that the needs of the community in developing attractions are tourists’ safety and tourism infrastructures, whereas the needs of the community in involving in ecotourism development in attractions are: equitable allocation of benefits from tourism (3.66±1.00), participating in marketing the attractions (3.65±1.09) and tourism impact assessment (3.55±1.05). The guidelines of ecotourism development are divided into 4 strategies including 1) Attraction development 2) Tourism activity development 3) Promoting and supporting the community’s knowledge of ecotourism 4) Community participation and income distribution and 5) Marketing development.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.