การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ THE DEVELOPMENT OF EXCELLENT LEARNING MANAGEMENT MODEL AT SENIO

Authors

  • พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บรรจบ ภิรมย์คำ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จิราภรณ์ กาแก้ว ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภูวนาถ แก้วมณีรัตน์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
  • มลิวัลย์ กาญจนชาตรี โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
  • รุจิราพร รามศิริ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
  • วุฒินันท์ ไอยราพัฒนา ไอยราพัฒนา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
  • เครือวัลย์ จตุพรพูนทรัพย์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
  • สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระบวนการจัดการความรู้

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยประยุกต์การจัดการความรู้กับวิธีวิจัย
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับบุคลากรของโรงเรียนฯ ดังนี้ 1) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร 2) สำรวจลักษณะความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสาธิต
ทั่วประเทศ 3) ถอดความรู้ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร จำนวน 5 คน และคณาจารย์เกี่ยวกับขั้นตอนและองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ฯ จำนวน 14 คน 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน
8 คน เพื่อตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และกำหนดแนวทางการนำความรู้ไปใช้ และการบำรุงรักษาความรู้ และ 5) รับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
คือ แบบสอบถาม และแบบรับรอง ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับแบบสัมภาษณ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ประเด็นหลัก และประเด็นรอง

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนรู้ ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ซึ่งใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเป็นเลิศ 2) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารเห็นว่าหลัก สูตรต้องมองนักเรียนทุกคนว่ามีความเป็นเลิศในตัว และครูผู้สอนมีกลยุทธ์แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือ การให้อิสระในการจัดการเรียนรู้ 3) การตรวจสอบรูปแบบฯ ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าองค์ประกอบควรมีการปรับหลักการ KUSK จากด้าน” Skill: ทักษะ” เป็น “Skills of Life: ทักษะชีวิต” และด้าน “Kindness: ความเมตตา กรุณา” ให้เปลี่ยนเป็น “คิดดี พูดดี ทำดี” 4) ผลการรับรองรูปแบบฯจากผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่า รูปแบบฯมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มาก ( = 4.15) และ 5) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ คน แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ หลักสูตร และการบริหาร สำหรับขั้นตอน มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ผู้เรียน 2) วางแผน
3) ดำเนินการ 4) สรุปและประเมินผล และ 5) ปรับปรุง

 

 

Abstract

            The purpose of this research was to develop an excellent learning management model for senior high school of Kasetsart University Laboratory School, Kampheang Saen Campus, Research and Education Development Centre through knowledge management process.  The research used methods were quantitative and qualitative approaches.  Knowledge management and research methodology were applied in order to develop the body of knowledge with school staff as follows:  1) collecting data, analyzing and synthesizing documents; 2) exploring the excellent learning management qualification of  Laboratory Schools at senior high school countrywide; 3) capturing knowledge through in-depth interview with 5 administrators and 14 teachers for their opinions on the learning management process and its components; 4) sharing knowledge through focus group with 8 qualified experts in order to assess the learning management model and identify the approach for  knowledge application and maintenance; and 5) validating the learning management model by 5 experts. For this study, the research instruments were survey questionnaires and validating form. The survey data were analyzed using mean and standard deviation, and the interview data were analyzed using content analysis.

            The survey results revealed that the excellent learning management were largely in the field of sciences through creative thinking process.  In-depth interview the administrators agreed that all student should be viewed as being excellence and the teachers should have different tactics. The important aspect was freedom of learning management. The validating form, experts agreed that the management components should adjust the principles of KUSK “skill” should be focusing on “life skills” should  be right attitude, right speech and right action. The validation form, rated by experts was high (= 4.15).  The learning management model was composed of 4 elements as follows: human resources, learning resources, innovation and media,  curriculum,  and administration.  For the process, there were 5 steps as follows: 1) analyze learner, 2) plan, 3) action, 4) conclusion and evaluation,  and 5) improvement.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค, ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บรรจบ ภิรมย์คำ, คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จิราภรณ์ กาแก้ว, ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภูวนาถ แก้วมณีรัตน์, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มลิวัลย์ กาญจนชาตรี, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รุจิราพร รามศิริ, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วุฒินันท์ ไอยราพัฒนา ไอยราพัฒนา, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เครือวัลย์ จตุพรพูนทรัพย์, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา, ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-04-08

How to Cite

หรรษาภิรมย์โชค พ., ภิรมย์คำ บ., กาแก้ว จ., แก้วมณีรัตน์ ภ., กาญจนชาตรี ม., รามศิริ ร., ไอยราพัฒนา ว. ไ., จตุพรพูนทรัพย์ เ., & ชุมสาย ณ อยุธยา ส. (2016). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ THE DEVELOPMENT OF EXCELLENT LEARNING MANAGEMENT MODEL AT SENIO. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 7(13, January-June), 129–140. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/54528