บูรณาการศาสตร์ด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กและการละครเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ THE INTEGRATION OF CHILDREN’S LITERATURE AND ENGLISH DRAMA IN IMPROVING STUDENTS’ ENGLISH SKILLS

Authors

  • อรสิริ วิมลธรรม โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Keywords:

วรรณกรรมสำหรับเด็ก ละครภาษาอังกฤษ การสอนภาษาอังกฤษ การละครเพื่อการศึกษา

Abstract

                                                             บทคัดย่อ

             รายวิชา “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” เป็นรายวิชาหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในทุกด้าน นอกจากทักษะด้านภาษาที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาแล้ว นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนทักษะด้านการเป็นนักคิด
และนักวิเคราะห์ โดยได้ฝึกคิดและฝึกวิเคราะห์ภูมิหลังของนักประพันธ์ที่ส่งผลต่อการประพันธ์วรรณกรรมในแต่ละเรื่อง จากความน่าสนใจของรายวิชา “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” ดังที่กล่าวมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจึงได้บรรจุรายวิชา “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” ในหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยนอกจากผู้สอนจะเน้นส่งเสริม
การเป็นนักคิดและนักวิเคราะห์ดังที่ได้กล่าวในเบื้องต้น ผู้สอนยังเน้นการเรียนการสอนวรรณกรรมสำหรับเด็ก
ร่วมสมัย ซึ่งได้รับความนิยมในประเทศต่างๆ อาทิ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น ลาวและไทย ผู้เรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบต่างๆ ของวรรณกรรม อาทิ โครงเรื่อง ตัวละครหลัก ตัวละครดี ตัวละครไม่ดี ฉาก จุดเปลี่ยนของเรื่องและบทสรุปของเนื้อเรื่องทั้งหมด กล่าวได้ว่า ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้เฉพาะองค์ประกอบต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น หากแต่จุดมุ่งหมายหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชา “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” คือ การกระตุ้นให้ผู้เรียน
ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์และอภิปรายในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ได้เรียนไปแล้วโดยใช้ภาษาอังกฤษ

          การส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษาอังกฤษนั้น ผู้สอนสามารถใช้การแสดงละครภาษาอังกฤษเพื่อเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษทั้งในและนอกห้องเรียน เนื่องจากการสอนภาษาอังกฤษผ่านการแสดงละครจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อผู้เรียนได้รับมอบหมายให้สร้างบทละครภาษาอังกฤษตามโครงเรื่องจากวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ได้เรียนไปแล้ว ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้หลักการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผ่านกระบวนการประชุมและการอภิปรายเพื่อให้ได้บทละครภาษาอังกฤษที่เหมาะสม แนวทางการเรียนรู้เช่นนี้จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นทั้ง “ผู้นำที่ดี” และ “ผู้ตามที่ดี” ในเวลาเดียวกัน

          กล่าวได้ว่า กิจกรรมการแสดงละครภาษาอังกฤษสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งในรายวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กและวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาอังกฤษ โดยผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ รวมทั้งความถูกต้องและความคล่องแคล่ว ทั้งนี้พัฒนาการด้านการใช้ภาษาอังกฤษดังที่กล่าวมาเกิดจากการฝึกฝนผ่านการแสดง สามารถเรียกการเรียนการสอนประเภทนี้ว่า “การละครเพื่อการศึกษา” ซึ่งหมายถึง การประยุกต์ใช้การละครเพื่อพัฒนาการสอน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำงาน
เป็นกลุ่ม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในคราวเดียวกัน

 

 

 

                                                              Abstract

          Children’s Literature is a subject which aims to develop students’ English skills as well as
to encourage students to think and analyze authors’ bibliography that affects the way of writing the plot of children’s books, novels, and plays. For Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Children’s Literature is
a subject in the English course syllabus. The subject involves the study of both Eastern and Western classic children’s literature from England, U.S.A, China, Japan, Laos and Thailand. Students study
the essential parts of children’s literature such as plot, main characters, protagonists, antagonists, settings, climax and summary. Students are not only prompted to study these essential parts, but they are also encouraged to analyze, synthesize and discuss topics concerned with the texts they have read with their classmates.

          To develop students’ English literacy, teachers can support students by using and integrating English drama as both ‘inside’ and ‘outside’ class activities. By learning and practicing English through drama, students will become more confident in using English naturally. When students are assigned to create their own English drama based on the plot of a classic children’s text, they will learn how to work in a group by brainstorming and cooperating with each other. Thus they learn how to be “good leaders” and “good followers”. The script is then submitted to the lecturer to proofread -- to check accuracy and grammar – before they put the drama into practice.

          To summarize, English drama can be adapted to be a part of inside and outside class activities with Children’s Literature and other English subjects. Students can develop their English ability, accuracy and fluency through practicing and acting. This teaching method is called “Theatre in Education” which helps students to understand how to work as a team, how to improvise and how to use English effectively
at the same time.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

อรสิริ วิมลธรรม, โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-04-08

How to Cite

วิมลธรรม อ. (2016). บูรณาการศาสตร์ด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กและการละครเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ THE INTEGRATION OF CHILDREN’S LITERATURE AND ENGLISH DRAMA IN IMPROVING STUDENTS’ ENGLISH SKILLS. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 7(13, January-June), 238–250. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/54536