การใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดประกอบกับการใช้คำถามระดับสูงเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ USING THINKING - BASED INSTRUCTIONAL MODEL WITH HIGH LEVEL QUESTIONING FOR DEV

Authors

  • กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Keywords:

รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิด การใช้คำถามระดับสูง ความสามารถในการให้เหตุผล นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยหลังจากที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดประกอบกับการใช้คำถามระดับสูง และ
2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยหลังจากที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดประกอบกับการใช้คำถามระดับสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา THAI 1101 หลักภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 1 หมู่เรียน รวมทั้งสิ้น 55 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดประกอบกับการใช้คำถามระดับสูง และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผล การดำเนินการวิจัยเริ่มจากให้นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลก่อนเรียน จากนั้นได้ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 7 แผน เมื่อสอนครบแล้วให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับก่อนเรียน แล้วนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า

            1.    นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดประกอบกับการใช้คำถามระดับสูงมีความสามารถในการให้เหตุผลสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

            2.    นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดประกอบกับการใช้คำถามระดับสูงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

 

 

 

Abstract

            The purposes of this research were to 1) study Thai language program students' reasoning ability after learning through thinking - based instructional model with high level questioning 2) study the students' learning achievement of Thai language program students through thinking - based instructional model with high level questioning. The sample group, by means of cluster random sampling, was 55 Thai language program students who enrolled in Thai 1101 (Principle of Thai Language) in the first semester of the academic year 2011, Chiang Mai Rajabhat University. The research instruments consisted of 7 lesson plans using thinking - based instructional model with high level questioning and a learning achievement test and a reasoning test. The tests were administered before and after the experiment.  The data were analyzed by using frequency, percentage and paired t - test.

            The finding of this research were as follows:

            1.    The students' reasoning ability  after being taught through thinking - based instructional model with high level questioning was increased at the 0.001 significant level.

            2.          The students' learning achievement after being taught through thinking - based instructional model with high level questioning was increased at the 0.001 significant level.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์, สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-04-12

How to Cite

วงศ์ทิพย์ ก. (2016). การใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดประกอบกับการใช้คำถามระดับสูงเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ USING THINKING - BASED INSTRUCTIONAL MODEL WITH HIGH LEVEL QUESTIONING FOR DEV. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 7(14, July-December), 1–16. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/54668