ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามแนวพระราชดำริ THE ADMINISTRATION EFFICIENCY WITH REGARD TO AUDITING OF THE OFFICE OF THE STATE AUDIT ACCORDING TO THE ROYAL INITIATIVES

Authors

  • รวีพร คูหิรัญ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

Keywords:

ประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ งานตรวจสอบ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แนวพระราชดำริ

Abstract

บทคัดย่อ

                      การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.).ตามแนวพระราชดำริ และ (2) เสนอตัวแบบการบริหารจัดการงานตรวจสอบของ สตง. ตามแนวพระราชดำริ. สำหรับระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักซึ่งเน้นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ผ่านการทดสอบเพื่อหาความเที่ยงตรงของแบบสอบถามได้ค่า IOC ที่ระดับ 0.86 และค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.74 ประชากร คือ ข้าราชการ สตง. จำนวน 2,907 คน กลุ่มตัวอย่าง
คือข้าราชการ สตง. ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,344 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิจัย
คือค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับปัญหาที่สำคัญ เช่น ด้านความมั่นใจ กล่าวคือ สตง. ไม่ได้กำหนดนโยบายหรือแนวการตรวจโดยเน้นหรือให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นใจว่าการใช้จ่ายเงินแผ่นดินเป็นไปโดยบริสุทธิ์และบังเกิดผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยและคุ้มค่า สำหรับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามแนวพระราชดำริคือ สตง. ควรกำหนดนโยบายหรือแนวทางการตรวจอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง โดยเน้นหรือให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นใจว่าการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินเป็นไปโดยบริสุทธิ์และบังเกิดผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยและคุ้มค่า และ (2) ตัวแบบการบริหารจัดการงานตรวจสอบของ สตง. ตามแนวพระราชดำริมีทั้งหมด 6 ด้าน พบว่าที่สำคัญเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยมี 3 ด้านได้แก่ ด้านความมั่นใจว่าการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินเป็นไปโดยบริสุทธิ์และบังเกิดผลผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้านคุณธรรม และด้านการประสานงาน ทั้ง 3 ด้านนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานตรวจสอบของ สตง. ตามแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 7 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

 

 

Abstract

                        The main objectives of this study were (1) to study problems and efficiency improvement guidelines with regard to auditing of the Office of the State Audit according to the Royal Initiatives, and (2) to propose administrative model of the Office of the State Audit according to the Royal Initiatives. The methodology was the mixed method between quantitative and qualitative research with emphasis of the quantitative research. The tools used to collect data were questionnaires that passed accuracy test by IOC method at level of 0.86 and reliability test at level of 0.74, collecting data from 1,344 samples derived from 2,907 populations who were the Office of the State Audit’s staff using Yamane’s formula. Statistics used to analyze data were mean, standard deviation, multiple-regression, and Pearson’s Correlation. The qualitative research collected data from 9 experts purposefully selected. The tool used to collect data was structured in-depth-interview, collecting data by face-to-face in-depth-interviewing and analyzing data by descriptive interpretation. Findings were as follows (1)  Samples agreed with the main problems such as the confidence, that was the Office of the State Audit did  not set up the policy or guidelines for auditing with the confidence that the state money was spent with fair mean and with the most beneficial results, money worth values. As for the guideline for efficiency improvement according to the Royal Initiatives were that the Office of the State Audit should set up the clear policy and guidelines for auditing based on the confidence that the state money was spent with clear public interest and money worth values. (2) The administrative model of the Office of the State Audit according to the Royal Initiatives in aspects, from the most to the least importance in 3 aspects were that confidence, the state money was spent with honesty and pure public interest and money worth values, the virtue and coordination. These 3 aspects were the most influent towards the effective administration of the Office of the State Audit according to the 7 aspects of good governance with the statistical significance.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

รวีพร คูหิรัญ, สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-04-12

How to Cite

คูหิรัญ ร. (2016). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามแนวพระราชดำริ THE ADMINISTRATION EFFICIENCY WITH REGARD TO AUDITING OF THE OFFICE OF THE STATE AUDIT ACCORDING TO THE ROYAL INITIATIVES. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 7(14, July-December), 64–76. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/54678