เนื้อหาและความหมายของความฝัน สื่อสารผ่านวรรณกรรมไทยในอดีตและปัจจุบัน THE CONTENTS AND MEANINGS OF DREAMS IN PAST AND MODERN THAI LITERATURE

Authors

  • จริยา สมประสงค์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

Keywords:

เนื้อหาและความหมาย นิมิตฝัน วรรณกรรมไทย

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาของความฝัน 2) เพื่อศึกษาความหมายที่ปรากฏในฝัน 3) เพื่อศึกษาความตรงกันของความฝันในวรรณกรรมและในตำราพรหมชาติ เป็นการศึกษาจากแหล่งเอกสาร คือ วรรณกรรมไทยในอดีตและปัจจุบัน โดยใช้เครื่องมือ 2 ลักษณะคือแบบสอบถามแบบเก็บข้อมูลครั้งเดียว จำนวน 400 ชุด และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน การวิเคราะห์เนื้อหาใช้วิธีการพรรณนาตามวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าความฝันเป็นศาสตร์เก่ากว่าศาสตร์ใดในโลก ปัจจุบันตำราเก่าที่สุดที่อาจสืบค้นความหมายของความฝันได้คือตำราพรหมชาติ ผลการศึกษาเนื้อหาความฝันพบ 6 ลักษณะคือ เรื่องความรักความสัมพันธ์หนุ่มสาว เรื่องบุตรหลาน เรื่องได้บุตรการตั้งครรภ์ เรื่องการศึกการเมืองการปกครอง เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โชคลางลางบอกเหตุ เรื่องเวลาและการเกิดความฝันวิธีการแก้ฝัน และเรื่องอื่นๆ ส่วนผลการศึกษาเนื้อหาวรรณกรรมในอดีตและวรรณกรรมปัจจุบันพบว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับความฝันจำนวน 56 ชื่อเรื่อง วรรณกรรมในอดีตมีเนื้อหาเกี่ยวกับความฝัน 25 ชื่อเรื่อง วรรณกรรมปัจจุบันมี 31 ชื่อเรื่อง ส่วนการตีความความหมายของความฝันในเนื้อหาวรรณกรรม เปรียบเทียบกับในตำราพรหมชาติ พบว่า มีความสอดคล้องกันคิดเป็นร้อยละ 100 และบางความฝันในวรรณกรรม 6 ชื่อเรื่องคือ เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 สามก๊ก ลิลิตตะเลงพ่าย ราชาธิราช ขุนช้างขุนแผน นี่แหละโลก พบทั้งความสอดคล้องและความแตกต่างกันคือ การฝันเห็นบิดามารดา ฝันเห็นเทพยดา ฝันเห็นปลา และพบความฝัน 22 เนื้อหาที่ไม่มีการกล่าวถึงในตำราพรหมชาติ การศึกษาการตีความความหมายของความฝันกล่าวได้ว่ามีคุณค่าในมิติเชิงวัฒนธรรม

 

 

 

Abstract

          This research entitled “The contents and meanings of dreams in Past and Modern Thai literature” has three objectives: 1) To study the contents of dreams 2) To study the meanings of dreams 3) To study the similarities of dreams in literature and in “The Phrommachat” scripture. It is the study based on Past and Modern literature, using two tools --- the 400 sets of questionnaires and a three-specialist group discussion. The data analysis is inductive in line with the qualitative research. The study reveals that the dream is the oldest science in the world.  At present, the oldest text that could possibly explicate dreams is “The phrommachat” scripture. It is found that there are six aspects of dreams: 1) love affairs, 2) offspring and pregnancy, 3) wars and politics, 4) holy objects, faith and omen, 5) causes of dreams and the time of dreaming as well as how to lessen the bad consequences and 6) others. In reviewing 56 stories of the past and present literature, there are 25 dream stories in the past and 31 in the present. The interpretations of the dreams in the literature and those in “The Phrommachat” scripture show a 100% similarity. In six literary stories: The Ramayana of King Rama I, The Samkok, The Lilit Taleng Phai, The Rajatiraj, The Khun Chang Khun Phaen, and The Nee Lae Lok, there are both similarity and contrast in the interpretations concerning the dreams about parents, the dreams about gods, the dreams about fish  Besides there are 22 dream contents not mentioned in the The Phrommachat” scripture. It is worth noting that the research in interpretation of dreams is a valuable culture dimension.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

จริยา สมประสงค์, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-04-29

How to Cite

สมประสงค์ จ. (2016). เนื้อหาและความหมายของความฝัน สื่อสารผ่านวรรณกรรมไทยในอดีตและปัจจุบัน THE CONTENTS AND MEANINGS OF DREAMS IN PAST AND MODERN THAI LITERATURE. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 8(15, January-June), 30–42. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/55849