การพัฒนาระบบตามรูปแบบการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู แอล พลัส ที่มีระบบเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ THE SYSTEM DEVELOPMENT OF A MODEL FOR PROBLEM-BASED LEARNING COOPERATES WITH KWL PLUS TECHNIQUE USING SCAFFOLDINGS SY

Authors

  • มนัสนิต ใจดี นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • จรัญ แสนราช ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Keywords:

Problem-based Learning, KWLPlus Technique, Scaffoldings System, Critical Thinking

Abstract

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบตามรูปแบบการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค
เค ดับเบิ้ลยู แอล พลัส ที่มีระบบเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และประเมินระบบที่พัฒนาขึ้นโดยมีขั้นตอนในการพัฒนาระบบตาม ADDIE Model5 ขั้นตอนดังนี้ขั้นที่ 1 ขั้นการวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ของระบบ ขั้นที่ 2 ขั้นการออกแบบ เป็นการออกแบบแผนการสอน ขั้นตอนการทำงานของระบบและจอภาพ ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา เป็นการเขียนโปรแกรมตามที่ออกแบบไว้สร้างแบบสอบถาม บทเรียนออนไลน์ และเอกสารประกอบระบบขั้นที่ 4 ขั้นการทดลองใช้ คือการนำระบบที่ได้ไปทดลองใช้เพื่อปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นและขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล เป็นการประเมินระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ

        ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน เป็นดังนี้
ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 98.33 ด้านเนื้อหาและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 97.92 ด้านวัตถุประสงค์ของบทเรียนมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 100.00 ด้านโจทย์สถานการณ์ปัญหามีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 95.83 ด้านกิจกรรมการเรียนและการประเมินผลมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 97.62 และด้านการเสริมศักยภาพมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 97.62 และผลการประเมินความเหมาะสมด้านเทคนิคและวิธีการในการจัดทำระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน พบว่าอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

           

 

 

 

Abstract

        The objectives of this research were to develop the system using Problem-based Learning and KWL Plus techniques and scaffoldings system to improve critical thinking, and to evaluate the developed system. To develop the system, we used ADDIE Model that consisted of 5 steps. The 1Ststep, Analysis, the system’s components were analyzed. The 2nd step, Design, the lesson plan, system’s procedures and screen were designed. The 3rd step, Development, source codes, questionnaires, online contents, and system documentation were written using data from the 2nd step. The 4th step, Implementation, the system was tested and implemented. And the 5th step, Evaluation, the system was assessed by the experts.

        The evaluation results from 6 experts revealed that learning method was appropriated with 98.33 percent, contents and learning resources were appropriated with 97.92 percent, objectives were appropriated with 100 percent, situations were appropriated with 95.83 percent, activities and evaluation were appropriated with 97.62 percent and scaffoldings were appropriated with 97.62 percent. The evaluation results of technique and methodology of a system development from 7 experts were at level of good quality ( = 4.36, S.D. = 0.52). It can be concluded that the system can be used as a tool of teaching.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

มนัสนิต ใจดี, นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จรัญ แสนราช, ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2017-01-10

How to Cite

ใจดี ม., & แสนราช จ. (2017). การพัฒนาระบบตามรูปแบบการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู แอล พลัส ที่มีระบบเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ THE SYSTEM DEVELOPMENT OF A MODEL FOR PROBLEM-BASED LEARNING COOPERATES WITH KWL PLUS TECHNIQUE USING SCAFFOLDINGS SY. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 8(16, July-December), 1–15. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/74419