ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการฟื้นฟูแหล่งน้ำจืดบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร : ประเมินมูลค่าและปัจจัยที่กำหนด WILLINGNESS TO PAY FOR WATER IMPROVEMENT IN BUNG SEE FAI, PHICHIT PROVINCE : CASE IN CONTINGENT VALUATION AND DETERMINING FACTERS

Authors

  • สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • วริษา กังสวัสดิ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Keywords:

Willingness to Pay, Fresh Water Improvement, Determining Factors

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงมูลค่าและปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่าย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนริมแหล่งน้ำจืดบึงสีไฟที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองพิจิตร อาศัยการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Contingent Valuation Method (CVM) เมื่อทำการทดสอบแบบสอบถามแล้ว สามารถกำหนดค่าจำนวนเงินเสนอราคาเริ่มต้นเพื่อให้เปิดเผยความเต็มใจที่จะจ่าย 4 ค่า คือ 8, 20, 30 และ 50 บาทต่อเดือน

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอเมืองพิจิตร จำนวน 602 คน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่ทำงานอยู่บ้าน อายุ 50 ปีขึ้นไป มีระดับรายได้หลังหักภาษีต่อเดือน เท่ากับ 5,000 - 10,000 บาทต่อเดือน และประกอบอาชีพเกษตรกรรม/ชาวสวนและประมง ซึ่งหากมีปัญหาน้ำท่วม ไฟไหม้ และดินตื้นเขินในบึงสีไฟผู้อยู่อาศัยยินดีที่จะเข้าร่วมโครงการการฟื้นฟูแหล่งน้ำจืด ร้อยละ 79.40 มีค่าเฉลี่ยและมัธยฐานของความเต็มใจที่จะจ่ายค่าฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมแหล่งน้ำจืดบึงสีไฟ เท่ากับ 26.92 และ 22.31 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการฟื้นฟูแหล่งน้ำจืดบึงสีไฟ คือ ระดับรายได้ต่อเดือนหลังหักภาษีและจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนด วางแผน นโยบายการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อการฟื้นฟูแหล่งน้ำ

 

คำสำคัญ: ความเต็มใจที่จะจ่าย ฟื้นฟูแหล่งน้ำจืด ปัจจัยที่กำหนด

 

 

 

 

 

 

Abstracts

                This study surveyed the Contingent Valuation and Determining Factors of Willingness to Pay for Water Improvement in the Bung See Fai, Phichit Province. The sample was people living in riverside community in there. The instrument used here was a questionnaire analyzing by Contingent Valuation Method (CVM). When it had been tested, it could be set the first bid to reveal the willingness to pay four values as follows; 8, 20, 30 and 50 baht/month.

            The finding revealed that 602 residents were mostly old, more than 50 years old, home-working, disposable income level at 5,000-10,000 baht/month, agriculture and inland fisheries. In case of, flood, fire, and be shallow, the residents were willing to attend the project at 79.40%, the median of willingness to respectively pay at 29.62 and 22.31 baht/month/household. In addition, the factors affected on the willingness to pay for water improvement were the disposable income level and the amount of household’s members. According to the study, it would be applied to decide, plan, run a policy to tariff the water improvement fee.

 

Keywords: Willingness to Pay, Fresh Water Improvement, Determining Factors

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์, สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วริษา กังสวัสดิ์, สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2017-01-10

How to Cite

เลิศศรีชัยนนท์ ส., & กังสวัสดิ์ ว. (2017). ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการฟื้นฟูแหล่งน้ำจืดบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร : ประเมินมูลค่าและปัจจัยที่กำหนด WILLINGNESS TO PAY FOR WATER IMPROVEMENT IN BUNG SEE FAI, PHICHIT PROVINCE : CASE IN CONTINGENT VALUATION AND DETERMINING FACTERS. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 8(16, July-December), 44–53. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/74437