การพัฒนาเศรษฐกิจและการลดความยากจน : ประสบการณ์จากละตินอเมริกา ECONOMIC DEVELOPMENT AND POVERTY REDUCTION : EXPERIENCES FROM LATIN AMERICA
Keywords:
Economic Development, Economic Growth, Poverty Reduction, SAM MultiplierAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจในการลดความยากจนด้วยแบบจำลองทางเศรษฐมิติ และเพื่อศึกษาบทบาทของปัจจัยภายนอกที่มีผลในการเพิ่มขึ้นของความกินดีอยู่ดีของประชาชนในแต่ละสาขาของระบบเศรษฐกิจด้วยค่าตัวทวีบัญชีเมตริกซ์สังคม โดยขอบเขตของการศึกษาได้พิจารณา 5 ประเทศในทวีปละตินอเมริกาประกอบด้วย เอกวาดอร์ เอล ซัลวาดอร์ เปรู อุรุกวัย และเวเนซุเอลา ซึ่งล้วนมีความสามารถในการลดความยากจนที่แตกต่างกัน
ผลการศึกษาด้วยแบบจำลองทางเศรษฐมิติพบว่า การพัฒนาเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพในการลดความยากจนมากกว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งนำไปสู่นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มระดับรายได้ สุขภาพ และการศึกษาไปพร้อมกันแทนที่จะให้ความสำคัญกับการเพิ่มขึ้นของรายได้เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้น จากการศึกษาด้วยค่าตัวทวีบัญชีเมตริกซ์สังคมพบว่า สาขาการผลิตที่ควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของทั้ง 5 ประเทศทั้งในด้านการผลิตและการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อุตสาหกรรมหนักและสิ่งทอ เนื่องจากเป็นสาขาการผลิตที่สามารถยกระดับชีวิตความเป็นของประชาชนในภูมิภาคได้มากที่สุด
คำสำคัญ: การพัฒนาเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การลดความยากจน ค่าตัวทวีบัญชีเมตริกซ์สังคม
Abstract
The purposes of this research are : to estimate the effectiveness of economic growth and economic development in elimination of poverty through econometric tools and to figure out the role of exogenous demanded shocks in raising the well-being among people in an economic sector through Social Accounting Matrix (SAM) multipliers. For the scope of this study, it focuses on five countries in Latin America including Ecuador, El Salvador, Peru, Uruguay, and Venezuela due to their various performance on poverty reduction.
From employing econometric technique, the study reveals that economic development yields more effectiveness in reducing poverty than economic growth which leads to a suggestion of holistic development policies shedding on income, health, and education simultaneously instead of increasing income level merely. Additionally, from SAM multipliers, meat sector, heavy manufacture, and textile should be the regional priority for government of five countries to support the production and export due to their highest promises to raising population's living standard.
Keywords: Economic Development, Economic Growth, Poverty Reduction, SAM Multiplier
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.