การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติเพื่อบริการข้อมูลให้นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร เชียงใหม่ THE APPLICATION OF TWO DIMENSION BARCODE TECHNOLOGY FOR PROVIDING TOURIST INFORMATION SERVICES AT TOURISM DESTINATION C

Authors

  • ไพศาล กาญจนวงศ์ ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • อาบทิพย์ กาญจนวงศ์ ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

Keywords:

Wat Phra thad Doi Suthep Woramahawihan, Two-Dimensional Barcode Technology, QR Code, Technology for Tourism

Abstract

บทคัดย่อ

            เชียงใหม่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยและมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ วรมหาวิหารซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของชาวเชียงใหม่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติเพื่อบริการข้อมูลภายในวัดโดยนำเสนอข้อมูลในลักษณะสื่อผสม 3 ภาษา ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและนับเป็นส่วนหนึ่งของกร ะบวนการอนุรักษ์และจัดการมรดกวัฒนธรรม การวิจัยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) คัดเลือกจุดบริการที่สำคัญ 2) พัฒนาระบบสารสนเทศและสื่อผสมโดยประยุกต์ใช้โซเชียลมีเดียและโปรแกรมสำเร็จรูป 3) ให้บริการข้อมูลด้วยบาร์โค้ดสองมิติ ณ จุดบริการ และ 4) ประเมินผลการใช้งาน จากผลการการดำเนินงานได้ติดตั้งป้ายบาร์โค้ดสองมิติ ณ จุดท่องเที่ยว 10 จุด ภายหลังจากทดลองใช้งานเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า มีผู้ใช้งานทั้งสิ้น 10,177 คน หรือมีการใช้เฉลี่ย 114 ครั้งต่อวัน นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการมาจาก 25 ประเทศ และจุดบริการที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากที่สุดคือ วิหารพระเจ้ากือนา ตัวมอม และพระธาตุ และเมื่อประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำนวน 250 คน พบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจเกือบทุกรายการในระดับมากเช่นกัน ได้แก่ ข้อมูลมีประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยว การแสดงผลข้อมูลตรงกับความต้องการ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ความสะดวกในการใช้งาน
ป้าย ณ จุดบริการข้อมูล และจำนวนจุดบริการข้อมูลมีเพียงพอ  

 

 

 

Abstract

            Chiang Mai is the major tourist attraction city in Thailand. The famous attraction in Chiang Mai is Wat Phra thad Doi Suthep Woramahawihan, an important sanctuary.  The application of two-dimensional barcode technology (QR code) by offering multimedia data in three languages enables tourists to gain knowledge and accurate information and enable the province to better conserve and manage. The study was divided into four stages; 1) select the point of services; 2) develop information system and multimedia by using social media and application software; 3) offers a two-dimensional barcode at the point of service; and 4) evaluation on tourist’s satisfaction. The QR code have installed at 10 service points. After a trial period of three months, there were 10,177 tourists use the application which an average of 114 times a day. Visitors who use services from 25 countries. The interest most were Wiharn Phrachao Kuena, Mom, and Doi Suthep Pagoda. The 250 questionnaires were surveyed from tourists who used QR code application and found that overall tourist’s satisfaction was high. Almost all items were satisfied with the high level as well, including information useful to tourists, data visualization needs, easy access to information, the ease of use of the sign at the point of service, and the number of service points is sufficient.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ไพศาล กาญจนวงศ์, ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาบทิพย์ กาญจนวงศ์, ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2017-07-14

How to Cite

กาญจนวงศ์ ไ., & กาญจนวงศ์ อ. (2017). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติเพื่อบริการข้อมูลให้นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร เชียงใหม่ THE APPLICATION OF TWO DIMENSION BARCODE TECHNOLOGY FOR PROVIDING TOURIST INFORMATION SERVICES AT TOURISM DESTINATION C. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 9(17, January-June), 120–134. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/92641