ผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรายงานข่าวสาร JOURNALISTS WITH USEFULNESS AND CREDITBILITY OF INFORMATION IN ONLINE SOCIAL MEDIA FOR NEWS REPORTING

Authors

  • วัฒณี ภูวทิศ ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

Keywords:

Usefulness, Credibility of information, Online Social Media, News Reporting

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาถึงการใช้ประโยชน์ และปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อใช้ในการรายงานข่าวสารของผู้สื่อข่าว โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการ จำนวน 30 คน รวมทั้งศึกษาข้อมูลจากเอกสารรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ผู้สื่อข่าวส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟสบุ๊ค กูเกิลพลัส และทวิตเตอร์ เพื่อหาเบาะแสของข่าว รายงานข่าวสาร
สร้างเครือข่ายในชุมชนออนไลน์และแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีในประเด็นสาธารณะ ซึ่งผู้สื่อข่าวส่วนใหญ่ระบุความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง เพราะข้อมูลไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากกองบรรณาธิการข่าวทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลทั้งหมดไปใช้ได้ทันที จึงต้องตรวจสอบด้วยการส่งผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ซ้ำหรือวิเคราะห์ข้อมูลในออนไลน์ว่ามีบริบทแวดล้อมที่เป็นการสร้างข้อมูลขึ้นเอง ปัญหาการใช้ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรายงานข่าวสาร พบว่าข้อมูลมีความผิดพลาด ขาดความน่าเชื่อถือ สร้างความแตกตื่นเมื่อเกิดภาวะวิกฤต สร้างความแตกแยกในสังคม และละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและลิขสิทธิ์ ผู้สื่อข่าวต้องระมัดระวังถึงผลประโยชน์ที่แอบแฝง
ทางการเมืองในรูปข่าวลวง ข่าวลือ และต้องใช้ดุลยพินิจเพื่อพิจารณาข้อมูลอย่างรอบคอบและเที่ยงธรรม

 

 

Abstract

This research aims to study journalists’ objectives of usefulness and credibility problems of news reporting through online social media. By using qualitative research method, and collected from the in-depth interviews with 30 journalists along with the data gathered from reviewing documents and relevant researches. The results revealed that journalists use online social media to convey information and be connected with news consumers such as facebook, google plus, twitter. By using social media to search for news sources and to report news, as well as to engage members of online community and provide a platform for discussing freely about public issues. As the most journalists stated that credibility level of information from online social media is moderate. This is because, unlike traditional process of news reporting, information in social media is not verified with sources. That since the online social media had only certain level of credibility, the information therefore needed to be ratified before putting into use by rechecking news sources by on location news reporters and/or by analyzing contexts of the online news to scrutinize whether the news was originally reported or created by a person. Problems and impact of news reporting on social media are errors or unreliable information, creates panic in the society when there is crisis, provokes dissent in the society, as well as privacy and copyright infringement. Journalists must be cautious about hidden political benefits of online social media users since information presented may be rumors and hoaxes and have to use their own discretion to consider information carefully and impartially.

 

 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วัฒณี ภูวทิศ, ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2017-07-14

How to Cite

ภูวทิศ ว. (2017). ผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรายงานข่าวสาร JOURNALISTS WITH USEFULNESS AND CREDITBILITY OF INFORMATION IN ONLINE SOCIAL MEDIA FOR NEWS REPORTING. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 9(17, January-June), 135–144. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/92644