การศึกษาองค์ประกอบการบริโภคนิยมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

ภิรญา ม่วงแจ่ม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริโภคนิยมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2560 ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 20 เท่า จากข้อคำถาม เนื่องจากการวิจัยนี้เป็นการศึกษาองค์ประกอบซึ่งตามข้อกำหนดการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,360 คน กลุ่มตัวอย่างที่เก็บได้จริง จำนวน 1,470 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ที่มีค่าความสัมพันธ์มากกว่า 0.20 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach ด้านพฤติกรรมการบริโภคนิยม เท่ากับ 0.871 และด้านเจตคติการบริโภคนิยม เท่ากับ 0.862 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงอนุมานประเภทการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis –EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ สกัดองค์ประกอบด้วยเทคนิคแกนสำคัญ PC ( Principal Component Analysis –PC ) และใช้การหมุนแกนแบบออธอกอนอล (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method) เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบการบริโภคนิยมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งในการศึกษาองค์ประกอบการบริโภคนิยม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การบริโภคนิยมของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่าการบริโภคนิยมของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง มี 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านพฤติกรรมการบริโภคนิยม มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 พฤติกรรมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย องค์ประกอบที่ 2 พฤติกรรมการบริโภคความสะดวกสบาย องค์ประกอบที่ 3 พฤติกรรมการบริโภคสินค้าแบรนด์เนม (Brand name) องค์ประกอบที่ 4 พฤติกรรมการบริโภคการใช้บริการ องค์ประกอบที่ 5 พฤติกรรมบริโภคความบันเทิง ด้านเจตคติการบริโภคนิยม มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 เจตคติการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย องค์ประกอบที่ 2 เจตคติการบริโภคความสะดวกสบายและความบันเทิง องค์ประกอบที่ 3 เจตคติการใช้สินค้า แบรด์เนม (Brand name) องค์ประกอบที่ 4 เจตคติด้านการใช้สินค้าและบริการ องค์ประกอบที่ 5 เจตคติรับประทานอาหารจานด่วนและขนมตามกระแสนิยม

Article Details

How to Cite
ม่วงแจ่ม ภ. (2018). การศึกษาองค์ประกอบการบริโภคนิยมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 9(1), 81–92. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/173286
บท
บทความวิจัย

References

กุลลินี มุทธากลิน. (2541). ไทยยุควัฒนธรรมทาส. กรุงเทพมหานคร: อรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

จุฑารัตน์ ก้านจักร. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับเทคโนโลยีกับพฤติกรรมบริโภคนิยมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมกล้าธนบุรี.

นงลักษณ์ กองหลัง. (2552). การวิเคราะห์พฤติกรรมบริโภคนิยมของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาริสา จันทร์ฉาย. (2551). พฤติกรมบริโภคนิยมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์พัฒนามนุษย์และสังคมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.

ศิรินรา บุดดานอก. (2552). การเปรียบเทียบเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวันเรียนและพฤติกรรมบริโภคนิยมของนิสิต นักศึกษา ในจังหวัดมหาสารคามที่มีเพศ ชั้นปี และความเชื่อมั่นในตนเองแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตร.

สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Blackwell, R., Miniard, P. W., & Engel, J. F. (2006). Consumer behavior. 10th Edition. Mason, OH: Thomson/South-Western.

Bourdieu, P (1979). Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste. London: Routledge.

Hair , Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. New Jursey : Pearson Education, Inc.

Solomon, Micheal R.(1996). Consumer Behavior. New Jersey : Prentice Hall International.

Theodeor Adorno, On popular music,in Cultural Theory and Popular Culture: A Reader, edited by. John Storey , Hemel Hempstead: Harvester Wheatsheaf,1994.