Information For Authors
หลักเกณฑ์และวิธีส่งต้นฉบับ “บทความวิจัย” เพื่อลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
ของสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
1. คำแนะนำทั่วไป
1.1 ต้องเป็น “บทความวิจัย” หรือ “บทความวิชาการ” ทางพระพุทธศาสนาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในสาขาปรัชญา ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสหวิทยาการทางด้านสังคมศาสตร์
1.2 ต้องเป็นบทความวิจัยที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการรอผลการพิจารณาจากวารสารอื่น ๆ
1.3 รับตีพิมพ์บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article) ภาษาไทยเท่านั้น
1.3 ต้องเป็นบทความวิจัยที่เขียนตามแบบ (Modeling) ที่กำหนดไว้
1.4 บทความวิจัยที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องนั้น ถ้ามีการปรับปรุงแก้ไขก็ต้องแก้ไขก่อนจึงจะลงได้
1.5 การลงบทความในวารสารของสถาบันวิจัยญาณสังวรหรือไม่นั้นเป็นสิทธิ์ของสถาบันวิจัยญาณสังวร
2. การพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการ
2.1 กองบรรณาธิการแจ้งให้ผู้ส่งบทความวิจัยและบทความวิชาการทราบ เมื่อได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว
2.2 กองบรรณาธิการตรวจสอบชื่อเรื่องบทความ รวมไปถึงเนื้อหาของบทความ โดยบทความนั้น ๆ ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของวารสาร
2.3 ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นชอบรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์กองบรรณาธิการจะส่งบทความเพื่อทำการกลั่นกลองต่อไป โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าเหมาะสมหรือไม่ในการตีพิมพ์ โดยใช้วิธีการประเมินแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (Double Blinded Review)
2.4 เมื่อผู้ทรงคุณได้พิจารณากลั่นกรองบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอ้างอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒินั้น ว่าควรได้รับการตีพิมพ์ หรือควรส่งกลับไปให้กับผู้ส่งบทความเพื่อแก้ไขก่อนพิจารณาอีกครั้ง หรือจะปฏิเสธการลงตีพิมพ์ในวารสาร
2.5 ผู้วิจัยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการกำหนด โดยผู้วิจัยต้องยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขความสมบูรณ์ของบทความก่อนเผยแพร่
2.6 การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ได้หรือไม่นั้น บรรณาธิการของวารสารถือเป็นที่สิ้นสุด
3. การเตรียมบทความต้นฉบับ
3.1 เขียนตามแบบ (Modeling) ที่กำหนดไว้ เช่น ใช้กระดาษ A4 พิมพ์เต็มหน้าความยาว 7 – 9 หน้า และกั้นหน้าด้านบนกับด้านซ้าย เท่ากัน 1.5 นิ้ว ส่วนกั้นด้านขวาและด้านล่างเท่ากัน 1 นิ้ว และตารางให้มีขีดเส้นบนและล่างเท่านั้น เป็นต้น
3.2 ใช้แบบอักษร TH Sarabun New เท่านั้น
3.3 ชื่อเรื่อง และหัวข้อใช้ตัวอักษรขนาด 16 (ตัวหนา) จัดกึ่งกลาง
3.4 ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษา 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดขวา
3.5 ชื่อสังกัดหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ Corresponding Author, E-mail: ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวปกติ) จัดชิดซ้าย
3.6 หัวข้อ ได้แก่ บทคัดย่อ Abstract ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม / เอกสารอ้างอิง และคำขอบคุณ ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย
3.7 ชื่อภาพ ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) ให้ระบุไว้ใต้ภาพ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ภาพ
3.8 หลักการอ้างอิงให้ใช้ “ระบบฝังใน” และตัวเลขให้ใช้ “ตัวเลขอารบิค” ที่เป็นสากล
3.9 เขียนตามแบบที่กำหนดไว้
4. ส่วนประกอบของบทความ
4.1 ชื่อเรื่องบทความ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
4.2 ชื่อผู้แต่งและหน่วยงานที่สังกัด (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
4.3 บทคัดย่อ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 250 คำ และคำสำคัญ (Keyword) ระหว่าง 3-5 คำ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
4.4 เนื้อหาบทความวิจัย ควรเป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ข้อค้นพบ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการมาอย่างเป็นระบบตามขั้นตอน โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
4.4.1 ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย (ความยาวประมาณ 2 ส่วน 3 หน้ากระดาษ A4)
4.4.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.4.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย (อย่างน้อย 2 ข้อ)
4.4.4 วิธีดำเนินการวิจัย (ความยาวประมาณ ครึ่งหน้ากระดาษ A4)
4.4.5 ผลการวิจัย (ความยาวประมาณ 2 - 3 หน้ากระดาษ A4)
4.4.6 สรุปผลการวิจัย (ความยาวประมาณ 2 ส่วน 3 หน้ากระดาษ A4)
4.4.7 อภิปรายผลการวิจัย (ความยาวประมาณ 1 ส่วน 3 หน้ากระดาษ A4)
4.4.8 ข้อเสนอแนะ
4.4.9 บรรณานุกรม / เอกสารอ้างอิง (เฉพาะที่มีอ้างอิงในบทความวิจัยเท่านั้น)
4.4.10 คำขอบคุณ
4.5 เนื้อหาบทความวิชาการ ควรมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน โดยมีการวิเคราะห์ประเด็นที่ต้องการนำเสนอตามหลักวิชาการ โดยมีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้น ๆ ได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยผู้ส่งบทความแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน มีลำดับเนื้อหาและบทสรุปที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน
4.5.1 บทนำ (Introduction) หลักการและเหตุผล (Rationale) หรือความเป็นมาหรือภูมิหลัง (Background) หรือความสำคัญของเรื่องที่เขียน (Justification) วัตถุประสงค์เป็นการเขียนว่าในการเขียนบทความในครั้งนี้ต้องการให้ผู้อ่านให้ทราบเรื่องอะไรบ้าง คำจำกัดความหรือนิยามต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเห็นว่าควรระบุไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
4.5.2 เนื้อเรื่อง (Body) การจัดลำดับเนื้อหาสาระ การเรียบเรียงเนื้อหา การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ การใช้ภาษา วิธีการนำเสนอ
4.5.3 ส่วนสรุป (Conclusions) บทความทางวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ของบทความนั้น ๆ ซึ่งอาจทำในลักษณะที่เป็นการย่อคือ การเลือกเก็บประเด็นสำคัญ ๆ ของบทความนั้น ๆ มาเขียนรวมกันไว้อย่างสั้น ๆ ท้ายบท
5. การเขียนเอกสารอ้างอิง
เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือ หรืออินเตอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้นิพนธ์เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด ในการเขียนเอกสารอ้างอิงใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามรูปแบบของ The American Psychological Association (APA, 6th Edition) โดยเนื้อหาเอกสารอ้างอิงแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
5.1 การอ้างอิงในเนื้อหา โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ ในกรณีอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วน ต้องระบุเลขหน้า โดยพิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) รูปแบบอ้างอิงมี 2 รูปแบบ ดังนี้
5.1.1 (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์: เลขหน้า) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง เช่น
(วสันต์ ฉายรัศมีกุล, 2561: 16-17)
5.1.2 ผู้แต่ง (ปีพิมพ์: เลขหน้า) กรณีมีการระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว ไม่ต้องระบุไว้ในวงเล็บท้ายข้อความที่อ้างอีก เช่น
วสันต์ ฉายรัศมีกุล (2561: 16) ได้ศึกษาถึง..........................................................................
5.2 การอ้างอิงท้ายบทความ โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ โดยรูปแบบอ้างอิงมีดังนี้
การอ้างอิงวารสาร
ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้า.
ตัวอย่าง
วสันต์ ฉายรัศมีกุล. (2561). องค์ประกอบหลักในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย, 9(1), 38-48.
การอ้างอิงหนังสือ
ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การอ้างอิงวิทยานิพนธ์และปริญญานิพนธ์
ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชื่อสถาบัน,สถานที่พิมพ์.
ตัวอย่าง
วสันต์ ฉายรัศมีกุล. (2561). ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ: การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
การอ้างอิงรายงานการวิจัย
ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (รายงานผลการวิจัย). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
วสันต์ ฉายรัศมีกุล. (2561). องค์ประกอบหลักในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนในจังหวัดนนทบุรี. (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. สืบค้น วัน เดือน ปี, จาก http://www.xxxxxxxxxxxx
ตัวอย่าง
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2554). จัดระเบียบสำนักงานทนายความ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.lawyerscouncli.or.th/2011/index.php?name=knowledge
หนังสือพิมพ์
ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์, วัน เดือน). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า.
ตัวอย่าง
วรินทร์ ตริโน. (2554, 28 เมษายน). ห่วงเงินทุนไหลช้า. มติชน, น. 15.
6. การส่งต้นฉบับ
ให้ส่งบทความวิจัยต้นฉบับทั้งไฟล์ Word และ PDF ผ่านระบบ THAIJO ของวารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri เท่านั้น
7.ดาวน์โหลด template บทความวิจัยและ บทความวิชาการ https://drive.google.com/drive/folders/1IvwQCZJSJkY_COXleGEFcpfHq7JuHnMj?usp=sharing