ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

เยาวภา แสนเขียว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความวิตกกังวล และการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในระดับปริญญาตรี เพื่อเปรียบเทียบการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมและระดับชั้นปีต่างกัน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 403 คน ซึ่งทำการสุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีการกำกับตนเองในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความวิตกกังวลอยู่ในระดับต่ำ ส่วนการรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษาพบว่า ในกลุ่มที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกันไม่พบความแตกต่างในทุกตัวแปร และในกลุ่มชั้นปีพบความแตกต่างในตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ระหว่างปี 2 และปี 3 เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความวิตกกังวล กับการกำกับตนเองในการเรียน มีค่าเท่ากับ .478 ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรปัจจัยดังกล่าวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการกำกับตนเองในการเรียนได้ร้อยละ 22.30 และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (b) ที่พบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประกอบด้วย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X2) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (X1) โดยมีค่าสัมประ สิทธิ์ถดถอย เท่ากับ .441 และ .107 ตามลำดับ การสร้างสมการพยากรณ์การกำกับตนเองในการเรียนจากตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง (X1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X2) และความวิตกกังวล (X3) ในการพยากรณ์การกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษา เขียนสมการในรูปคะแนนดิบและสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ ,

Article Details

How to Cite
แสนเขียว เ. (2015). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(2), 49–60. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/173410
บท
บทความวิจัย

References

ช่วงโชติ พันธุเวช. (2554). ครุศาสตร์ฟีเวอร์. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2556, จาก http://www.thaipost.net/node/36050

รังรอง งามศิริ. (2540). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อวิรุทธ์ ผลทรัพย์. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความคิดเชิงบวกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1. ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Pintrich, P. R., & De Groot, E. V. (1990). Motivational and self-regulated learning components of classroom academic performance. Journal of Educational Psychology, 82(1), 33-40.

Weiner, B. (1972). Attribution theory, achievement motivation, and the educational process. Review of Educational Research, 42(9), 203-215.