ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรระดับบุคคลและตัวแปรระดับกลุ่ม

Main Article Content

สุวิมล ติรกานันท์

Abstract

แต่เดิมมาการวิจัยทางสังคมศาสตร์มักใช้ตัวแปรเพื่อบรรยายลักษณะของบุคคล เช่น อายุ รายได้ ต่อมานักวิจัยก็พบว่าหน่วยที่ใช้ในการศึกษาอาจจะไม่ได้หมายถึงบุคคลเท่านั้น เพราะมีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่มีหน่วยในการศึกษาเป็นกลุ่มบุคคล เช่น ห้องเรียน โรงเรียน หมู่บ้าน ทำให้นักวิจัยต้องกลับมาทำความเข้าใจการใช้ตัวแปรในการบรรยายลักษณะของกลุ่มเหล่านี้ การใช้ตัวแปรในการบรรยายลักษณะของกลุ่มบุคคลที่รวมกันอยู่ในลักษณะของชุมชน องค์กร หรือกลุ่มบุคคลในลักษณะอื่น ๆ ได้แก่ เชื้อชาติของคนในเขตเมือง การบริหารงานขององค์กรเอกชน ลักษณะของบ้านพักอาศัยในอำเภอเมืองของแต่ละจังหวัด ในบางครั้ง แม้ว่าตัวแปรจะใช้บรรยายลักษณะของบุคคล แต่ก็ยังคงพบว่ามีพื้นฐานของข้อมูลเกี่ยวกับการรวมกันของกลุ่มบุคคลอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบบัณฑิตแพทย์ที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงกับบัณฑิตที่สำเร็จจากมหาวิทยาอื่น ๆ จะเห็นว่าแพทย์เป็นบุคคล ส่วนความมีชื่อเสียงเป็นของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นองค์กร บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ การทำความเข้าใจวิธีการกำหนดค่าของตัวแปรที่ได้จากหน่วยที่ใช้ในการศึกษา การใช้ตัวแปรในการบรรยายลักษณะของบุคคลและลักษณะของกลุ่มบุคคล การเปลี่ยนค่าตัวแปรระดับบุคคลไปเป็นค่าตัวแปรระดับกลุ่มและการเปลี่ยนค่าตัวแปรระดับกลุ่มไปเป็นค่าตัวแปรระดับบุคคล ตลอดจน จุดอ่อนที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปร นำไปสู่การวิเคราะห์พหุระดับ (multilevel analysis)ที่ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรระดับบุคคลกับตัวแปรระดับกลุ่มในเวลาต่อมา

Article Details

How to Cite
ติรกานันท์ ส. (2015). ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรระดับบุคคลและตัวแปรระดับกลุ่ม. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 6(2), 61–74. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/173415
Section
Academic Article

References

Coleman, J.S. (1990) Foundations of Social Theory. Cambridge: Harvard University Press.

Goldstein, H. (1986) ‘Multilevel mixed linear model analysis using iterative generalized least squares’. Biometrika, 73, 43-56.

Hox, J.J. (2002). Multilevel analysis: techniques and application. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. Inc.

Kreft, I.G.G. & DE Leeuw, J. (1998) Introducing Multilevel Modeling. London: Sage Publications.

Lazarsfeld, P.F. & Menzel, H. (1961) ‘On the relation between individual and collective properties’, In A. Etzioni (Ed.), Complex organizations: A sociological reader. New York: Holt, Rhinehart & Winston.

Raudenbush, S. W. (1995) ‘Hierachical linear models to study the effect of social context on development’. In: Gottman, J.M. (Ed.), The Analysis of Change, 165-201. Mahwah, N.J.: Lawrence Erlbaum Ass.

Snijder, T.A.B., & Bosker, R. (2000). Multilevel analysis. An introduction to basic and advanced multilevel modeling. Thousand Oaks, CA: Sage.