คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตำรวจกับความคาดหวังของประชาชน

Main Article Content

พระเมธาวินัยรส .

Abstract

สำนักงานตำรวจแห่งชาติมองเห็นว่า งานตำรวจเป็นงานที่ท้าทายความรู้ ความสามารถ และความ กล้าหาญ เพราะต้องใช้ไหวพริบพร้อมทั้งปฏิภาณในการทำงานและต้องเสี่ยงกับภัยอันตรายตลอดเวลา นอกจากนั้นตำรวจยังต้องเป็นบุคคลที่มีความทรหด อดทน เป็นเลิศอีกด้วยจึงจักทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีผลสำเร็จ แม้ตำรวจจะทำงานที่หาคนมาทำได้แสนลำบากเช่นนี้แต่ก็ยากเหมือนกันที่จะหาคนเข้าใจการทำงานและวิถีชีวิตของตำรวจได้อย่างลึกซึ้งและถูกต้อง ในการปฏิบ้ติหน้าที่การงานของตำรวจจึงมักจะต้องมีกฏเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ มากมายมาทำการควบคุมและตรวจสอบ เช่น กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และวินัยตำรวจที่เคร่งครัดในทุกระดับ นอกจากนั้นหลักสูตรฝึกอบรมต่าง ๆ ที่ใช้ฝึกอบรมตำรวจก็ล้วนแต่หนักหนาสาหัสเพื่อทดสอบสมรรถภาพและมีการประเมินผลที่เข้มข้นตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ตำรวจมีคุณสมบัติเป็นที่เชือถือ เป็นที่รัก และเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้อย่างสนิทใจของประชาชนและผู้บังคับบัญชานั้นเอง การดำเนินการต่าง ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การรักษาความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การสืบสวนสอบสวน การควบคุมแหล่งอบายมุข การให้การบริการในรูปแบบต่าง ๆ แก่ประชาชน ดังนั้น เพื่อการบรรลุผลสำเร็จจึงจำเป็นที่จะต้องได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และปฏิภาณไหวพริบแล้ว ยังต้องเป็นผู้มีจริยธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และความประพฤติส่วนตัวดีด้วย เนื่องจากการเป็นผู้มีความประพฤติที่ดีนั้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดีเพื่อมุ่งเข้าสู่การเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ดีได้อย่างแท้จริง (กรมตำรวจ, 2525 : 1) ทั้งนี้เพราะว่า ข้าราชการตำรวจมีภารกิจในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจจึงมีความใกล้ชิดกับประชาชน อีกทั้งเป็นความหวังและเป็นที่พึ่งที่คาดหวังของประชาชนยามเมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ดังนั้น ข้าราชการตำรวจจึงจำเป็นต้องเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินชีวิตประจำวัน (พล ต.ท.สมคิด บุญถนอม, 2553 : ข) การที่ข้าราชการตำรวจมีภารกิจในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเช่นนี้จึงทำให้ตำรวจเป็นที่พึ่งสำคัญของประชาชนในด้านการอำนวยความปลอดภัยและยุติธรรม ดังนั้น ข้าราชการตำรวจจึงต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณให้สมกับที่ประชาชนคาดหวังในตัวของตำรวจด้วย

Article Details

How to Cite
. พ. (2014). คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตำรวจกับความคาดหวังของประชาชน. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 5(2), 59–72. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/173591
Section
Academic Article

References

ตำรวจ, กรม. การกำหนดโครงสร้างจริยธรรมและวิธีการเสริมสร้างจริยธรรมตำรวจ คำสั่งกรมตำรวจ ที่ 1388/2525. กรุงเทพมหานคร : กรมตำรวจ, 2525.

ตำรวจแห่งชาติ, สำนักงาน. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2547.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : บริษัท นานมีจำกัด,2542.

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. พระราชบัญญัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551. นครปฐม : โรงพิมพ์ชวนชม, 2551.

สมคิด บุญถนอม, พล ต.ท. คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามกฏของ ก.ตร. ว่าด้วย ประมวลจริยธรรม และจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553 (แก้ไขตามกฏ ก.ตร. ว่าด้วย ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานจเรตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2553.