A Study of Life Quality Factors Led by the Monk and Lay Students at Mahamakut Buddhists University

Main Article Content

วสันต์ ฉายรัศมีกุล

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบองค์ประกอบคุณภาพชีวิตของนักศึกษาบรรพชิตและนักศึกษาคฤหัสถ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาบรรพชิต และนักศึกษาคฤหัสถ์ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นนักศึกษาบรรพชิต จำนวน 840 ตัวอย่าง และนักศึกษาคฤหัสถ์ จำนวน 840 ตัวอย่าง รวม 1,680 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามคุณภาพชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) ที่สกัดองค์ประกอบแบบ common factor analysis โดยวิธี อิมเมจ (image factoring) และหมุนแกนแบบ ออธอกอนอล (orthogonal rotation) โดยวิธี varimax ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของนักศึกษาบรรพชิตและนักศึกษาคฤหัสถ์ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีองค์ประกอบ ที่แตกต่างกัน โดยองค์ประกอบคุณภาพชีวิตของนักศึกษาบรรพชิตที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของนักศึกษาคฤหัสถ์ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ส่วนองค์ประกอบคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกันของนักศึกษาบรรพชิตและนักศึกษาคฤหัสถ์ คือ คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน

Article Details

How to Cite
ฉายรัศมีกุล ว. (2012). A Study of Life Quality Factors Led by the Monk and Lay Students at Mahamakut Buddhists University. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 3(2), 37–48. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/174580
Section
Research Article

References

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ. การศึกษา : การสร้างประชาคมอาเซียน 2558. (ม.ป.ป.).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.(2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559): ฉบับสรุป.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมบูรณ์ สุริยวงศ์. (2550). การวิเคราะห์องค์ประกอบ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.). สุขภาพคนไทย 2555.

พจนีย์ เถิงจ่าง. (2551). ผลกระทบของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ภาคนอกเวลาราชการที่มีต่อการเรียนการปฏิบัติงาน และคุณภาพชีวิตของนิสิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสัญ อ่างเฮ้า.(2551). คุณภาพชีวิตของนิสิตที่อยู่หอพักในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุขศรี สงวนสัตย์. (2552). คุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทนงศักดิ์ วันชัย. (2552). คุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตบางพระ. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก.

ปาณจิตร สุกุมาลย์. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต

กาญจนา ปินตาคำ.(2551). คุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่อาศัยอยู่ในหอพักเอกชน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Joseph F. Hair, Jr. et al. (2010). Multivariate Data Analysis.Boston