การส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนในสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางโดยใช้คารวธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนในด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้านปัญญาธรรม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตย3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตย 4) เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลองก่อนกับหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยสถานที่เป้าหมายเพื่อดำเนินการวิจัย คือ สถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเยาวชนที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 400 คนโดยคำนวณตามสัดส่วนหน่วยตัวอย่าง 4 จังหวัด 16 โรงเรียน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) และ สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. การเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนในสถานศึกษาเป้าหมาย พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านคารวธรรมและด้านสามัคคีธรรม และปัญญาธรรม ซึ่งสองด้านแรกมีผลต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสร้างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนในสถานศึกษาเป้าหมายในด้านคารวธรรม และด้านสามัคคีธรรม ได้จัดกิจกรรมในการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนในสถานศึกษาเป้าหมาย ในด้านคารวธรรมจำนวน3 กิจกรรม และด้านสามัคคีธรรมจำนวน 5 กิจกรรม 3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนในด้านคารวธรรม และด้านสามัคคีธรรม ได้ทำการทดลองกับนักเรียนมัธยมปลายในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 150 คน ผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อนกับหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนในด้านคารวธรรม และด้านสามัคคีธรรม พบว่า คะแนนก่อนและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนรวมหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนรวมก่อนทดลองซึ่งหมายความว่าผลการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่ารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นไปทดลองใช้แล้ว ทำให้ผลการพัฒนาดีขึ้น
Article Details
References
กอบกุล ดิษฐแย้ม. รายงานการวิจัยพัฒนารูปแบบการสร้างพฤติกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียนประถมศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ,2543.
กีรติ ซามัชฌิมา.การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างคุณลักษณะวิถีประชาธิปไตยด้านสามัคคีธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองกุง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.
ตรีวิเศษ ทัพไทย.การพัฒนาการดำเนินเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยนักเรียน ด้านสามัคคีธรรมโรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.
ทัศนีย์ วิเศษแก้ว. การพัฒนาประชาธิปไตยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดมุกดาหาร : กรณีศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2533.
สุดใจ ป้องเรือ.การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวิถีชีวิตประชาธิปไตย ด้านคารวธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าหวายนั่ราษฎร์บำรุง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.
สมพงษ์ นามบุดดี. การพัฒนาประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกกลางอำเภอโพนพิสัยจังหวัดหนองคาย” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2550.
อดุลย์ อาจนาวัง.การพัฒนาการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยโรงเรียนบ้านซับวังไทร อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.