การพัฒนาแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อสร้างแบบ การเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอนเรื่องมารยาทไทยในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และ 3) เพื่อประเมินผลการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอนจากการใช้แบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอน ที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 รูป โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structured Interview) สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 65 รูป/คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ผู้วิจัย ร่างแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เรื่องมารยาทไทย และดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อตรวจสอบร่างแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอน ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ ด้านเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ และด้านการบรรยายประกอบการสาธิตมารยาทไทย ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประเมินผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับพลังอำนาจครู 7 ด้าน ได้แก่ 1) ความตระหนักในคุณค่าแห่งตน 2) ความรับผิดชอบในงาน 3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 4) การยึดมั่นผูกพันองค์การ 5) ความภูมิใจในตนเอง 6) ความเป็นอิสระ และ 7) การมีความมั่นใจ ผู้วิจัยประเมินทักษะด้านมารยาทไทย และประเมินเจตคติที่มีต่อการสอนวิชามารยาทไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการให้การสนับสนุน ( 4.10, S.D. 0.71) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( 4.29, S.D. 0.66) ด้านการพัฒนาศักยภาพ ( 3.95, S.D. 0.78) ด้านการปรับปรุงโครงสร้าง ( 4.31, S.D. 0.63) ด้านภาวะผู้นำ ( 4.23, S.D. 0.72) ด้านการทำงานเป็นทีม ( 4.37, S.D. 0.68) 2. กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอน มี 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การให้การสนับสนุน 2) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 3) การพัฒนาศักยภาพ 4) การปรับปรุงโครงสร้าง 5) ภาวะผู้นำ 6) การทำงานเป็นทีมและแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความถูกต้องความเหมาะสม มีความสอดคล้อง และมีความเป็นประโยชน์ 3. ผลการทดลองใช้แบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูผู้สอนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์ พบว่า ครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรม มีผลการประเมินหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม ครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรมมีทักษะด้านมารยาทไทยสูงขึ้นและครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรม มีเจตคติต่อการสอบเรื่องมารยาทไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรมการศาสนา. (2555). แนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ
กรมการศาสนา. (2555). วารสาร สายตรงศาสนา ฉบับพิเศษ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ.
เติมทรัพย์ จั่นเพชร. "รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการปฏิบัติงานของผู้ช่วยพยาบาล โดยใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและสุนทรียสนทนา". วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม. (2553). "การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะภาวะผู้นำเยาวชนในโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิก". วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิวนาถ ไชยมาศ (2556). รูปแบบการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในภาวะผู้นำทางวิชาการของครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สมพร เทพสิทธา. (2549). การเดินตามรอยพระยุคลบาท:เศรษฐกิจพอเพียงช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์.
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). บทบาทของการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการพัฒนาเยาวชน. เอกสารประกอบการประชุม ในการเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2555 ณ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.