The Analysis of The approach for the Democratic Civic Education in School integrated with the Seven Sappurisadhama Principles
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาของไทยได้มีความพยายามในการพัฒนาคนเพื่อให้เป็นคนที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ในกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น และสืบต่อเนื่องมาจนถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรของไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ได้บัญญัติคำว่า “พลเมือง” ลงไปในเนื้อหาซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในกฎหมายรัฐธรรมนูญในฉบับที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าพลเมืองมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะหลังจากวิกฤตความแตกแยกของประชาชนในประเทศ การสร้างความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยจะช่วยลดความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมืองลงได้ ด้วยเหตุผลที่พลเมืองมีคุณลักษณะสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือประการที่ 1 มีความเชื่อในวิถีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยไม่ใช้ความรุนแรง (Non-Violence) ประการที่ 2 มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในรัฐหรือชุมชนการเมือง (Body Politics) เดียวกัน แม้จะมีความขัดแย้งกันก็ควรปฏิบัติต่อกันเยี่ยงสุภาพชน (politeness) และประการที่ 3 คือ พลเมืองในรัฐหรือชุมชนการเมืองเดียวกัน ควรจะใฝ่หาสันติมากกว่าสงคราม (Peace-Loving) (วิชัย ตันศิริ, 2557 : 21) รัฐบาลชุดปัจจุบัน (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) จึงกำหนดนโยบายเร่งด่วน นโยบายด้านที่ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อปฏิรูปการศึกษา ใน 5 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ 4.1) จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ 4.2) ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา จัดระบบการสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยอาจจะพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่ง 4.3) ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ 4.4) พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และ 4.5) ทะนุบำรุงและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ สนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างสันติสุขและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน
Article Details
References
ถวิลวดี บุรีกุล และรัชวดี แสงมหะหมัด. 2555. รายงานวิจัยความเป็นพลเมืองในประเทศไทย (Citizenship in Thailand). กรุงเทพ ฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
ทรงศิริ วิชิรานนท์ 2556. คุณลักษณะพลเมืองดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ปลินธร เพ็ชรฤทธ. 2550. สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาของครูสังคมศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2540) ภาวะผู้นำความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ, (กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา).
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). 2548. ภาษาธรรม. (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง).
วิชัย ตันศิริ. 2557. ศาสตร์การสอนความเป็นนักประชาธิปไตย. (กรุงเทพมหานคร : บริษัทพรีเพรส จำกัด).
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. 2548. รายงานการวิจัยเอกสารการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สถาบันพระปกเกล้า. 2555. รายงานวิจัย การสร้างความปรองดองแห่งชาติ. (กรุงเทพมหานคร : สถาบันปกเกล้า).
สุจิตรา วันทอง. 2556. การวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา. ในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา.
สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). 2549. ธรรมศึกษา. (กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา).
Print and Lange .2012. Schools ,Curriculum and Civic Education for Building Democratic Citizens. (Sysney : Sense Publishers).