The Analysis of Governance Concepts and Implication Proposals for The Financial Organization of Community Administration in Thai Society
Main Article Content
Abstract
ธรรมาภิบาลเป็นแนวทางการบริหารที่มีการนำไปประยุกต์ใช้ทั้งการบริหารงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เพื่อเป็นกรอบในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งอาจจะปรากฎอยู่ในรูปของวิสัยทัศน์ขององค์กร นโยบาย เป้าหมาย พันธกิจ หรือกลยุทธ์การบริหารเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้กับองค์กรและสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งภายในและภายนอกองค์กรในหลายด้าน เพื่อสร้างหลักการประกันคุณภาพการบริหารขององค์กร โดยพื้นฐานของแนวคิดธรรมาภิบาลปรากฎอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรายงานเรื่อง Sub Saahara Africa : From Crisis to Sustainable Growth ที่ธนาคารโลก (World Bank) ได้พยายามวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวของรัฐในอัฟริกาในการพัฒนาประเทศ (World Bank, 2012) ที่เสนอหลักการการบริหารและการปกครองที่ดีเพื่อการแก้ปัญหาของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้สาเหตุและปัจจัยที่ต้องมีการปรับบทบาทของรัฐว่ามีสาเหตุมาจากอิทธิพลของ โลกาภิวัตน์ การแข่งขันระหว่างประเทศ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ แนวคิดการปรับลดบทบาทและขนาดของรัฐ การเติบโตและเข้มแข็งของภาคเอกชน และองค์กรประชาสังคม และปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น และความด้อยประสิทธิภาพของภาครัฐและระบบราชการ (Hughes, 1994 p.1-21) การถกเถียงในบริบทเกี่ยวกับบทบาทรัฐในด้านการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารของรัฐและการแสวงหาทางเลือกเพื่อทำให้รัฐมีความเข้มแข็ง (State Strength) และมีศักยภาพ (State Capacity) ในการปกครองได้ดี นั่นคือ การกระจายอำนาจให้ภาคส่วนย่อยและที่เป็นหน่วยงานหรือสถาบันของรัฐระดับรอง การปรับโครงสร้างการบริหาร การให้ความสำคัญกับบทบาทของท้องถิ่น (Pierre and Peters, 2000, p.193) แนวคิดธรรมาภิบาลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น มีที่มาจากอิทธิพลของแนวคิด ทฤษฎีใหม่ๆ ทางการเมือง และแนวคิดการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดการตั้งข้อถกเถียงกับวิกฤตทางการบริหารของรัฐที่เป็นอยู่ และความสามารถของรัฐด้านนโยบายสาธารณะ (Bevir, 2010 p.1)
Article Details
References
ณรงค์ บุญสวยขวัญ. 2552. การเมืองภาคพลเมือง บทวิเคราะห์แนวคิดและปฏิบัติการท้าทายอำนาจการเมืองในระบบตัวแทน. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรส โปรดักส์ จำกัด.
เลิศชาย ศิริชัย (เลิศชาย ศิริชัย (บรรณาธิการ)). 2547. ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากข้อเท็จจริงยกระดับสู่กระบวนทัศน์ความเข้มแข็งชุมชน. นครศรีธรรมราช : โรงพิมพ์เม็ดทราย.
สีลาภรณ์ บัวสาย. 2552. พลังท้องถิ่น บทสังเคราะห์งานวิจัยด้านชุมชน. ใน วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ฉบับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ธันวาคม 2552.
Bevir, M. (2010). Democratic governance. Princeton, N.J. : Princeton University Press.
Chhotray and Stoker. (2009). Governance Theory and Practise : A Cross-Disciplinary Approach. Great British : Palgrave Macmilian.
Hughes, Own E. (1994). Public Management and Administration : An Introduction, New York : St.Martin’ Press,Inc.
Pierre and Peters, (2000), Governance,Politics and the States, USA : St.Martin Press, p.193.
กรมการพัฒนาชุมชน. 2555. ยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชน (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 สืบค้นได้จาก www.cdd.go.th.
ศูนย์ข้อมูลการเงินและการลงทุนอิสลาม. 2555. ธนาคารความรู้สู่ภูมิปัญญา จากนักคิดรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2556. สืบค้นได้จาก http://www.islamicfinance.in.th/?p=1737#sthash.IvlatE2F.dpuf.
World Bank. (2012). Governance. Retrieved 20 December, 2012, from http://www.worldbank.org/
World Bank. 2013. Sub-Saharan Africa – from Crisis to Sustainable Growth: A long term Perspective study. Retrieve January 5, 2013, from http://wwwwds.worldbank.org/external/default/WDSContentServer/WDSP/IB/1999/12/02/000178830_98101901364149/Rendered/PDF/multi0page.pdf.