เทคนิคการออกเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษที่ไม่มีในภาษาไทย

Main Article Content

ณัฐธนธีรา ศรีภา

Abstract

เป็นที่ยอมรับกันว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลและเป็นภาษากลางภาษาแรกของโลก เพราะมีการพูดกันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศทั่วโลก แม้ในบางประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ก็ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษกันโดยทั่วไป ทั้งนี้เพื่อการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเขียนผ่านอินเตอร์เน็ต การฟังข่าวจากวิทยุ การชมข่าวและภาพยนตร์ทางโทรทัศน์หรือเว็บไซด์ การอ่านคู่มือทางด้านวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น หรือใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ เช่น ใช้ภาษาอังกฤษในทางการบิน ใช้ภาษาอังกฤษในทางการทูต เป็นต้น นับว่าภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากและยาวนานทั้งในสังคมและวิถีชีวิตของคนทั่วโลกรวมถึงคนไทยด้วยปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษยิ่งมีบทบาทและมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งอาจกล่าวจำแนกได้ในมิติต่าง ๆ ดังนี้คือ 1) มิติด้านการศึกษา ภาษาอังกฤษมีความสำคัญในฐานะเป็นสิ่งที่ช่วยปูทางด้านการศึกษาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันซึ่งเป็นการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษที่ทุกคนจะต้องศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต และให้ความสำคัญกับทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ การเรียนรู้ 3R x 7C ซึ่ง 3R คือ Reading (อ่านออก) Writing (เขียนได้) และ Arithmetics (คิดเลขเป็น) และ 7C คือ Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) และ Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) (วิชาการดอทคอม, 2557) ทั้งนี้เพระภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้ในศาสตร์ที่นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจต้องการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าจากตำราต่าง ๆ ที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษ หรือการค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งร้อยละ 55 ของเว็บไซต์ทั่วโลกเป็นภาษาอังกฤษ (แคพแพล่น, 2559) รวมถึงการไปศึกษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา แคนาดา หรือประเทศอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษดี จะสามารถค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ ได้อย่างดีเสมอ 2) มิติของการประกอบอาชีพ พบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของโลกธุรกิจ ต้องการคนที่ใช้งานภาษาอังกฤษได้ และคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ยังมีรายได้มากกว่าร้อยละ 8 จากรายได้ปกติอีกด้วย (แคพแพล่น, 2559) หากทำธุรกิจในต่างประเทศก็ยังจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ดังนั้น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษที่ดีจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการหางานและการทำงาน 3) มิติแห่งประชาคมอาเซียน (Asian Community: AC) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations: ASEAN) ซึ่งมีการแบ่งประชาคมย่อยออกเป็น 3 ประชาคม ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community: APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community: AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean Socio-Cultural Community: ASCC) นั้น ภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประชาคมย่อยที่ 2 อันมีพันธกิจหลัก คือ การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี (Free Flow of Skilled Labour) ดังนั้น ผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีย่อมมีความได้เปรียบทั้งการแข่งขันในตลาดแรงงานภายในประเทศและทำงานในประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่า

Article Details

How to Cite
ศรีภา ณ. (2016). เทคนิคการออกเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษที่ไม่มีในภาษาไทย. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 7(1), 186–189. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/185090
Section
Academic Article

References

เคลลี่และเจอรัลด์. (2546). วิธีสอนการออกเสียง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.

แคพแพล่น. (2559). ประโยชน์ของการเรียนภาษาอังกฤษ. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2559, จาก https://www.kaplaninternational.com/th/benefits-learning-english

ปรารมภ์รัตน์ โชติกเสถียร. (2548). การออกเสียงสระและเสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

พนัส เฉลิมแสนยากร. (2559). ปอด: กายวิภาคปอด (Lung anatomy) / สรีรวิทยาของปอด (Lung physiology). สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2559, จากhttp://haamor.com/th/%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94/#article102)

พนัส เฉลิมแสนยากร. 2559. ปอด: กายวิภาคปอด (Lung anatomy) / สรีรวิทยาของปอด (Lung physiology). สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2559, จาก http://haamor.com/th/%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94/#article102

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2559). สายเสียง หรือ เส้นเสียง. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2559, จาก http://haamor.com/th/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87/

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2559). เชื้อดื้อยา ซูเปอร์บั๊ก (Superbug). สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2559, จาก http://haamor.com/th/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%A1/

โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2552). การผ่าตัดปอดโดยใช้กล้องส่อง. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2552, จาก http://www.bangkokhospital.com/tha/LungMicroscope.aspx.