ความสัมพันธ์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งหวังเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ซึ่งเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ว่า 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และ 2.เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของรูปแบบเชิงสมมติฐาน ของความสามารถทางการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย การศึกษาใช้กระบวนการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed Method) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหารภายหลังทราบผลการวิจัยเชิงปริมาณแล้ว จำนวน 5 ราย สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ (percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) การทดสอบสมมติฐาน ค่าเฉลี่ย (Mean) และการวิเคราะห์ตัวแบบจำลองสมการโครงสร้าง Structural Equation Modeling (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัย พบว่า (1.) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย พบว่า ตัวแปรความสามารถทางการแข่งขันได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจาก ความสามารถทางนวัตกรรม ความเป็นผู้ประกอบการทางการตลาด และทุนทางปัญญา โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.45 0.32 และ 0.17 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ความสามารถทางการแข่งขันยังมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานโดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.97 (2.) วิเคราะห์ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของรูปแบบเชิงสมมติฐาน ของความสามารถทางการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าดัชนี พบว่า ค่า = 112.63, df= 103, /df = 1.093, p-value=0.243, GFI = 0.97, AGFI = 0.94, NFI = 0.99, NNFI =1.00, CFI = 1.00, RMR = 0.010 และ RMSEA = 0.016
Article Details
References
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (2561). ข่าวศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/iq03/2875586
Cavusgil, S. T., Zou, S., & Naidu, G. M. (1993). Product and promotion adaptation in export ventures: An empirical investigation. Journal of International Business Studies, 24(3), 479-506.
Chang, N.J., & Fong, C.M. (2010). Green product quality, green corporate image, green customer satisfaction, and green customer loyalty. African Journal of Business Management, 4 (13), pp. 2836-2844.
Kohli, A. K., Jaworski, B. J. & Kumar, A. (1993). MARKOR: A measure of market orientation. Journal of Market Research, 30(4), pp. 467-477.
Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control. (9th ed). New Jersey: Asimmon &Schuster.
Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. London: Macmillan. (1998). Cluster and the New Economics of Competition. Retrieved October 10, 2006, from
Website:http://www.wellbeingcluster.at/magazin/00/artikel/28775/ doc/d/porterstudie.pdf