การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามหลักไตรสิกขา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามหลักไตรสิกขา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กลุ่มประชากร 232 คนเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเชิงสำรวจ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัย ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน คือ ด้านนโยบายองค์กร ด้านการฝึกอบรม ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านภาวะผู้นำองค์กร ด้านเทคโนโลยีขององค์กร อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนา ด้านการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการ ตามหลักไตรสิกขา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก คือ ด้านศีล ด้านสมาธิ และด้านปัญญา การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ นั้น พบว่า ตัวแปรด้านภาวะผู้นำองค์การ และตัวแปรด้านเทคโนโลยีขององค์การ มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการ ตามหลักไตรสิกขา ในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากสมการสามารถทำนายความผันแปรของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการ ตามหลักไตรสิกขา มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย เท่ากับ 0.217 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการ ตามหลักไตรสิกขา ในภาพรวมมากที่สุด คือ ตัวแปรด้านภาวะผู้นำองค์การ รองลงมา คือ ตัวแปรด้านเทคโนโลยีขององค์การตามลำดับ
Article Details
References
ประวัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย http://www.mbu.ac.th
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539) การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิก จำกัด,.
วิเชียร วิทยอุดม. (2547) พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์จำกัด.
สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2530) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร :สวัสดิการสำนักงาน.
สุนันทา เลาหนันทน์. (2546) การบริหารทรัพยากรมนุษย์.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ธนะการพิมพ์.