ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ปรารถนา วงศ์แก้ว
ประยูร อิ่มสวาสดิ์
สุเมธ งามกนก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ และปัจจัยด้านบริการ แต่ละปัจจัยอยู่ในระดับมาก 2. การตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี แต่ละด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยที่ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี พบว่า ปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกันพยากรณ์ร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจ ได้ร้อยละ 47.8 ที่ระดับนัยสำคัญ .01 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังต่อไปนี้ Y ̂ = 1.188 + 0.465 (X10) + 0.169 (X1) + 0.090 (X8) + 0.108 (X4) + 0.098 (X7) Z ̂ = 0.578 (X10) + 0.219 (X1) + 0.107 (X8) + 0.166 (X4) + 0.148 (X7) จากสมการถดถอยคาดว่าผู้ปกครองจะตัดสินส่งบุตรหลานเข้าเรียน ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เท่ากับ 1.188 หน่วย

Article Details

How to Cite
วงศ์แก้ว ป., อิ่มสวาสดิ์ ป., & งามกนก ส. (2019). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 10(2), 104–115. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/232360
บท
บทความวิจัย

References

จรรยา เทวัญรัมย์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลาน เข้าศึกษาในโรงเรียนเรียนเขตการทางสงเคราะห์ 5 (ไตรคามสิทธิศิลป์) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2556.

จิราภรณ์ ไทยวร. ความคิดเห็นของผู้ปกครองในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2551

ณัฐนันท์ แก้วกิตติวัฒน์. ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียน อบจ.รบ.1 (วัดห้วยปลาดุก อนันตกูลอุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 2560.

ทองเดิน เผ่าดี. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน โรงเรียนในอำเภอเมืองเชียงราย: กรณีศึกษาตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2548.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:สุวิริยาศาสน์, 2556.

ประสงค์ ไทยมี. พฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาคน.กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา, 2551.

ปราณี พรหมรส. การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลจินดาพร เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2549.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2543.

รักตวรรณ ศิริถาพร. การพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2553.

ประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.

ศิวพร กสิกิจวรกุล. ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนประชาคมนานาชาติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 2547.

สรินญา ชัยนุรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียน สังกัดเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2554.

สายชน มวกเหล็ก. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค, 2560.

เหม หมัดอาหวา. ระดับปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาเอกชน ระดับอนุบาลเขตเทศบาลนครหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2559.

Cronbach, L. J. Essential of Educational and Psychological Measurement, 30(3). 1990, 607-610.

Krejcie, R. V.& Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3). 1970, 607- 610.