องค์ประกอบของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภานุมาศ แสนสีแก้ว
สุวิมล ติรกานันท์
กมลทิพย์ ศรีหาเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 346 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธี Principal Component Analysis และใช้การหมุนแกนแบบ Varimax ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 12 องค์ประกอบ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 63.86

Article Details

How to Cite
แสนสีแก้ว ภ. ., ติรกานันท์ ส., & ศรีหาเศษ ก. (2020). องค์ประกอบของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 11(1), 74–79. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/244109
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). การศึกษาสภาพการอ่านและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). การประกันคุณภาพการศึกษาการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา กลุ่มงานวิจัยและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). ข้อมูลสถิติการอ่านหนังสือของคนไทย (Online). สืบค้น 1 กรกฎาคม 2558, จาก www.nso.go.th

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอมมิกา วัชรสุทธิพงศ์. (2559). การพยากรณ์ประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Christina Clark, & Lucy Hawkins. (2010). Young People’s Reading : The Importance of the home environment and family support. Retrieved from http://www. Literacytrust.org. k/assets/0000/4955/Young_People_s_Reading_executive_summart.pdf

Markelis, D. M. (2000). Jurgis acquires the reading habit: Language and literacy in early lithuanian American immigrant life. Retrieved from http://www.lip.umi.com/disertations/fullcit/9954901/DAI-A 60/12

Mundfrom .Daniel J. Dale G. (2009). Minimum Sample Size Recommendations for Conducting Factor Analyses. from ttps://doi.org/10.1207/s15327574ijt0502_4