FACTOR ANALYSIS OF GOOD TEACHERS’ CHARACTERISTICS IN THE OPINIONS OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS UNDER THE JURISDICTION OF THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดีในทัศนะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17,701 คน เนื่องจากการวิจัยนี้เป็นการศึกษาองค์ประกอบซึ่งตามหลักการวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) จำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 20 เท่าของจำนวนข้อคำถาม เพื่อให้เพียงพอต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,420 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha - Coefficient) ของแบบสอบถามคุณลักษณะของครูที่ดีในทัศนะของนักเรียน เท่ากับ .872 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) โดยสกัดองค์ประกอบด้วยวิธี principal component analysis และหมุนแกนแบบ direct oblimin ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดีในทัศนะของนักเรียน มีจำนวน 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย การอุทิศตน การประเมินผลการเรียน การใช้บทเรียนออนไลน์ การใช้สื่อการสอน ความสุภาพอ่อนโยน เทคนิคการสอนและการใช้แอปพลิเคชัน ทั้ง 7 องค์ประกอบเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนคุณลักษณะของครูที่ดีในทัศนะของนักเรียน ได้ร้อยละ 60.226
Article Details
References
นัฐตยา พงษ์เสือ. (2559). การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราช ภัฏเชียงราย.
พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไรในศตวรรษที่ 21. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร”, 5(2), 23-35.
พิณสุดา สิริรังศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุม วิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” (6-8 พฤษภาคม 2557).
ภัณฑิรา ดวงจินดา. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช.(2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
วิโรจน์ สารรัตนะ.(2559). นวัตกรรมกับกระบวนทัศน์การศึกษาศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 7(2), 268-283.
วาสนา กีรติจำเริญ. (2555). นานาสาระ การจัดการเรียนการสอน. นิตยสาร สสวท. 40(175), 50-53
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท, 42(185), 10-13.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (มปป.). 5 ปี สสค. ผลการดำเนินงาน 2553-2558 และเส้นทางอนาคต.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสังกัด สพม.2. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/school.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12), กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัลญา พรมจันทร์. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมสมรรถนะครูผู้สอนตามจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรศักดิ์ สุทธิวรรณ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุเทพ ธรรมะตระกูล. (2555). การศึกษาลักษณะของครูยุคใหม่. รายงานการวิจัยกลุ่มวิชา จิตวิทยาและแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21(พิมพ์ครั้งที่ 1). : กรุงเทพมหานครจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวัฒน์ งามยิ่ง. (2547). คุณลักษณะครูที่ดีของครู-อาจารยวิทยาลัยสารพัดชjาง สังกัดสถาบันการ อาชีวศึกษาภาคกลาง 1 และภาคกลาง 5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อ่องจิต เมธยะประภาส. (2562). ลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2562. http://www.slideplayer.mcu.ac.th
Koehler, M., & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK)?. Contemporary issues in technology and teacher education, 9(1), 60-70.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Confirmatory factor analysis. Multivariate Data Analysis, 7th ed.; Pearson Education, Inc.: Upper Saddle River, NJ, USA, 600-638.