การพัฒนาต้นแบบกลุ่มให้คำปรึกษาตามแนวคิดซาเทียร์สำหรับผู้ดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา

Main Article Content

ปรารถนา รัตนถิรวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบกลุ่มให้คำปรึกษาตามแนวคิดซาเทียร์สำหรับผู้ดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา และเพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดของผู้ดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังเข้าโปรแกรม วิธีการศึกษา ผู้วิจัยใช้แนวคิดจิตบำบัดซาเทียร์เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนากระบวนการให้คำปรึกษารูปแบบกลุ่มเพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยมีรูปแบบการวิจัยแบบ Pretest –Posttest Control Group Design กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญาอายุ 6-15 ปี เก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายน2562 – มกราคม 2563 จำนวน 27 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 13 คน และกลุ่มควบคุม 14 คน กลุ่มทดลองจะได้เข้าร่วมกลุ่มให้คำปรึกษาตามแนวคิดซาเทียร์ จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 90-120 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับบริการตามปกติ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการประเมินก่อนและหลังการทดลอง ด้วยแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติค่าที ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลอง มีคะแนนค่าเฉลี่ยความเครียดหลังเข้ากลุ่มให้คำปรึกษาตามแนวคิดซาเทียร์ลดลงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p=.014) และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยความเครียดของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p=.003) สรุปได้ว่า กลุ่มให้คำปรึกษาตามแนวคิดซาเทียร์สำหรับผู้ดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเครียดลดลงแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับบริการปกติ

Article Details

How to Cite
รัตนถิรวรรณ ป. . (2021). การพัฒนาต้นแบบกลุ่มให้คำปรึกษาตามแนวคิดซาเทียร์สำหรับผู้ดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 12(1), 63–72. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/252609
บท
บทความวิจัย

References

Elizabeth Jones, L. G. a. L. P. (2013). Family Stressors and Children's outcomes In L. Platt (Ed.). Retrieved September 16,2019 from http://www.cwrc.ac.uk/projects/documents/DFE-RB254-Report.pdf.

Hastings, R. P., & Beck, A. (2004). Practitioner Review: Stress intervention for parents of children with intellectual disabilities. Journal of Child Psychology and Psychiatry, 45(8), 1338-1349. doi:10.1111/j.1469-7610.2004.00357.

National Academies of Sciences, E., and Medicine. (2015). Mental Disorders and Disabilities Among Low-Income Children(T. F. B. a. J. T. Wu. Ed.).Washington DC: National Academies of Sciences, Engineering and Medicine. Retrieved September 16,2019 from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK332882

กรรวิภาร์ หงษ์งาม.(2546). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความเครียดของผู้ปกครองเด็กออทิสติก(ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต(งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ)). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

สดใส คุ้มทรัพย์อนันต์. (2561). กลุ่มครอบครัวบำบัดแนวแซทเทียร์ (Family Group Therapy) (พิมพ์ ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมชาย จักรพันธุ์ และคณะ. (2542). การพัฒนาแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง สำหรับประชาชนไทยด้วยคอมพิวเตอร์, (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี:กรมสุขภาพจิต.