การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำในการศึกษาของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

สุวภา บุญอุไร
ปริญญา เรืองทิพย์
สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจตัวบ่งชี้ของเกณฑ์การประเมินความเหลื่อมล้ำในการศึกษาของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย  788 คน ที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปี ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ปกครองและครู เครื่องมือที่ใช้ก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามความเหลื่อมล้ำในการศึกษาของเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง 2) แบบสอบถามความเหลื่อมล้ำในการศึกษาของเด็กปฐมวัยสำหรับครู วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลค่าสถิติพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างด้วยความถี่ ร้อยละ การกำหนดน้ำหนักตัวบ่งชี้และรวมตัวบ่งชี้ด้วยวิธีการหมุนแกนองค์ประกอบ (Factor Rotation) แบบออโธกอนอล เพื่อให้ได้องค์ประกอบที่มีอิสระต่อกันด้วยวิธีวาริแมกซ์ (Varimax)


     ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำในการศึกษาของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 30 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านการรับรู้ของผู้ปกครอง ด้านการจัดประสบการณ์ของครู ด้านพัฒนาการร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสติปัญญา ด้านพัฒนาการด้านสังคม ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยี และด้านต้นทุนทางสังคมของเด็ก ซึ่งความแปรปรวนขององค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายตัวบ่งชี้ได้ร้อยละ 60.89 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยพิจารณาจากค่าสถิติไคสแควร์ เท่ากับ 345.97 ค่าองศาอิสระ(df) เท่ากับ 305 ความน่าจะเป็น (P) เท่ากับ 0.11 ค่า GFI เท่ากับ 0.96 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.01 ค่า RMR เท่ากับ 0.02 ค่า SRMR เท่ากับ 0.03

Article Details

How to Cite
บุญอุไร ส. ., เรืองทิพย์ ป. ., & จันทเปรมจิตต์ ส. . (2021). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำในการศึกษาของเด็กปฐมวัย. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 12(2), 81–94. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/256533
บท
บทความวิจัย

References

กุลชาติ พันธุวรกุล. (2562). แนวทางสำหรับครูชายในการจัดการศึกษาปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 204-215.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โกวิท โกเสนตอ, จินตนา จันทร์เจริญ และคำนึง ทองเกตุ. (2557). ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนตามแนวชายแดนไทย-พม่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2(2), 24-33.

ปิยะนุช ศรีตะปัญญะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 96-104.

ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา และอติญาณ์ ศรเกษตริน. (2560).การส่งเสริมโภชนาการในเด็กก่อนวันเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 226-235.

พิริยะ ผลพิรุฬห์ และศิวัช เทียมทัด. (2559). เศรษฐศาสตร์การศึกษาปฐมวัย: การเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยและผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาต่อในอนาคต. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์, 23(1), 1-34.

แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560- 2579. (2564). กรุงเทพ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.

Elliott, L., & Bachman, H. J. (2018). Parents' educational beliefs and children's early academics: Examining the role of SES. Children and Youth Services Review, 91(-), 11-21.