การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในภาวการณ์หมดไฟในการทำงาน

Main Article Content

ณัฐหทัย นิรัติศัย
พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน)
ณัฐชยา กำแพงแก้ว

บทคัดย่อ

     ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นภาวะของการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน สาเหตุอาจเกิดจากขาดอำนาจในการตัดสินใจในการทำงานอย่างอิสระ เป้าหมายการทำงานที่ไม่ชัดเจน ทีมงานหรือองค์กรไม่มีประสิทธิภาพ งานหนักเกินไป ขาดการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาหรือองค์กร และทำงานตามหน้าที่ โดยลักษณะอาการของผู้ที่มีภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ  มองความสามารถในการทำงานของตนเองในเชิงลบ ขาดความรู้สึกประสบความสำเร็จในชีวิต


     การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับภาวการณ์หมดไฟในการทำงานนั้น สามารถทำได้ด้วยการนำมาประยุกต์ใช้โดยง่ายผ่านหลักธรรมพื้นฐาน เช่น หลักอิทธิบาท 4, สังคหวัตถุ 4 และหลักพละ 5  เป็นต้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างสุขภาวะที่ดีในการทำงาน โดยเริ่มต้นจากการปรับความคิดพื้นฐานของตนเองด้วยการใช้หลัก "อิทธิบาท 4" ถือว่าเป็นหลักธรรมแห่งความสำเร็จ การสร้างความพึงพอใจในการทำงานที่มีอยู่ ความชอบและศรัทธางานที่ทำอยู่ และมีความสุขกับงานที่ได้รับมอบหมาย ความขยันหมั่นเพียรในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีจิตใจหรือสมาธิจดจ่อกับงานที่ทำและความรับผิดชอบในงานที่ทำอย่างเต็มกำลัง เพื่อมุ่งสู้เป้าหมายนั่นก็คือผลสำเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นสำคัญ

Article Details

How to Cite
นิรัติศัย ณ. ., (สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน) พ. ., & กำแพงแก้ว ณ. . (2021). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในภาวการณ์หมดไฟในการทำงาน. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 12(2), 136–148. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/256539
บท
บทความวิชาการ

References

กรมการแพทย์.(2564). ระบบสุขภาพสหรัฐฯ ทำแพทย์-พยาบาล หมดไฟ เหตุจากภาระงานเกินตัว เทคโนโลยีล้าหลัง . สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.hfocus.org/content/2019/10/17970

กมลพร วรรณฤทธิ์.(2564).สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Burn Out Syndrome . สืบค้น 10 มกราคม 2564, .จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1385.

กรมการแพทย์.(2562).รู้จักภาวะหมดไฟ BURN OUT. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564 , จาก https://www.hfocus.org/content/2019/10/17916

ดาริกา ปิตุรงคพิทักษ์.(2554).การทดสอบแบบจำลองและความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของไชรอม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร

นฤมล สุธีรวุฒิ.(2558).ภาวะหมดไฟ:ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการป้องกัน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 32(91), 18 -19.

พรชัย สิทธิศรัณย์กุล.(2564). ภาวะหมดไฟในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2564, จาก http://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplay.php?id=273.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).(2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11)กรุงเทพมหานคร:มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ยงยุทธ แก้วเต็มและคณะ.(2562).แนวคิดทางพระพุทธศาสนา พละ 5 : การประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 .วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 5-7.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (2562) BURNOUT หมดไฟในการทำงาน ภาวะคุกคามคุณภาพชีวิตแห่งโลกยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 7กุมภาพันธ์ 256,จากhttps://www.chulaiongkornhospital.co.th.

วศิน อินทสระ.(2564). พละ 5 ในชีวิตประจำวัน . สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2564, จากhttps://minimore.com/b/wRsxx/47.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564) . หมดไฟในการทำงาน ภัยคุกคามชาวออฟฟิศ. สืบค้น 10 มกราคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th

อโนทัย สุ่นสวัสดิ์ .(2564). Burn Out Syndrome อย่ารอให้หมดไฟในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2564, จาก https://www.bangkokhospital.com/content/ burnout-syndrome.