ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”

Main Article Content

มณีรัตน์ อินทองคำ
นิรนาท แสนสา

บทคัดย่อ

       บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง และ 2.เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองและกลุ่มควบคุมที่ได้รับกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ได้มาโดยการวัดการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียน เปรียบเทียบห้องเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยการตระหนักรู้ในตนเองต่ำสุด จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1. แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง 2. ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3. กิจกรรมแนะแนวปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง ภายหลังการทดลองมีการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ 2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองมีการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับกิจกรรมแนะแนวแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
อินทองคำ ม., & แสนสา น. (2022). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 13(2), 27–34. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/262703
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด: แนวทาง สู่การ ปฏิบัติ เอกสารชุดปฏิรูปการเรียนรู้ลำดับที่ 2 โครงการปฏิรูปการเรียนรู้.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ธิติมา จงพิพัฒน์วณิชย์. (2539). การเปรียบเทียบผลของการใช้ชุดการแนะแนวเพื่อพัฒนากระบวนการตัดสินใจ เลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่า มะกาวิทยาคม จังหวัดกาญจนบุรี.(ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร,

กรุงเทพฯ.

มยุรี วิสูตราศัย. (2547). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

กุณฑลี จริยาปยุกต์เลิศ และคณะ. (2540). การใช้กลุ่มสัมพันธ์ เพื่อพัฒนามโนภาพแห่งตน ของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.(รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี:

มหาวิทยาลัยบูรพา.