แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการห้องเรียนแบบผสมผสาน ในยุคความปกติใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพและความพึงพอใจ เปรียบเทียบคุณภาพและความพึงพอใจ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับคุณภาพการให้บริการ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 357 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบค่าเอฟ และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D.=0.56)ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88, S.D.=0.55) โดยผู้รับบริการที่มีอายุ ประเภทของผู้ปฏิบัติงาน และระดับการศึกษา ที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้รับบริการที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน ผู้รับบริการที่มีอายุและประเภทของผู้ปฏิบัติงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้รับบริการที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแตกต่างกัน และพบว่าคุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงมาก (r=0.73) แนวทางการพัฒนา: ควรเพิ่มทักษะ ความรู้ ความชำนาญให้กับผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ โดยส่งเสริมให้เข้ารับการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน สัมมนาต่าง ๆ และสนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ประกาศมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (2019) ฉบับที่ 3. กระทรวง
การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ประกาศเรื่องมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (2019) ฉบับที่ 13.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร.
พนิดา เพชรรัตน์. (2556). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีอากร สานักงานสรรพากรพื้นที่นครราชสีมา 2. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. นครราชสีมา.
วิฑูรย์ จันทวงสี. (2556). ความพึงพอใจ พฤติกรรม และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้บริการ 3G PLUS เครือข่าย True Move H ในเขตกรุงเทพมหานคร
(สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.
วิรัตน์ ชนะสิมมา และทตมัล แสงสว่าง. (2564). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของ ประชาชนที่ชำระภาษีท้องถิ่นกับเทศบาลตำบลหนองนาคำ กรณี
ศึกษาตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(2), 15-28.
ศิริชัย กาญจนวาสี, & และคณะ. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม = Classical test theory. สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
สุวิมล ลิ้มธนทรัพย์. (2561). ความคิดเห็นของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงาน ศุลกากร นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า ไฮเทค บางปะอิน จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา.(สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก. กรุงเทพมหานคร.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). Newyork: Harper and Row Publication.