การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักศึกษาครู

Main Article Content

วิเชียร อินทรสมพันธ์
ปราณีต ม่วงนวล
ณัฐมน พันธุ์ชาตรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 หลังจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70  2. ศึกษาผลการประเมินคุณภาพของแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาครูที่ประเมินโดยตนเอง เพื่อน และครูผู้สอน และ 3. ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 หลังจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ทุกคน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 63.33 2. คุณภาพของแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาครูที่ประเมินโดยตนเอง เพื่อนและครูผู้สอนภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม 3. ความคิดเห็นของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
อินทรสมพันธ์ ว. ., ม่วงนวล ป., & พันธุ์ชาตรี . ณ. (2022). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักศึกษาครู. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 13(2), 108–118. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/262856
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์ทิรา เจียรณัย. (2556). การใช้แฟ้มสะสมงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในรายวิชาแนวคิดพื้นฐานของศาสตร์ทางการพยาบาล (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา:

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ประวิทย์ โอ้โลม. (2557). การพัฒนาระบบแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนวิชาทัศนศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

(ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ผการัตน์ ทองจันทร. (2561). การพัฒนา E-Portfolio สำหรับนักเรียนแสดงผลผ่าน Smart Phone ด้วยการประยุกต์ใช้ QR Code. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสาร

สังคม, 6(1), 188.

พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning).วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 8(2),

-336.

มนตรี ดีโนนโพธิ์. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้นด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. จันทรเกษมสาร, 27(1), 106-123.

ยุพกา ฟูกุชิม่า. (2564). การทดลองจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ในรายวิชาการอ่านภาษาญี่ปุ่นขั้นสูง.วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 28(2), 311-367.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: แสงศิลป์.

อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2564). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(2),

-183.

Alfredo Berbegal Vázquez, Abel Merino Orozco, Ana Arraiz Pérez, and Fernando Sabirón Sierra. (2021). The E-Portfolio in Higher Education:

The Case of a Line of Teaching Innovation and Complex Change Management. University of Deusto. p-ISSN: 2340-8170 e-ISSN: 2386-

, 9(1), 29-64.

C.C. Bonwell, J.A. Eison. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom.ERIC Digest. Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on

Higher Education.