TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING TEACHER’S PERFORMANCE IN SCHOOLS UNDER THE SINGBURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE.

Main Article Content

Pittayapohn Panyahom
Kisda Pongpittaya

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2.การปฏิบัติงานของครู และ 3.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 269 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นชั้นในการสุ่ม และใช้การสุ่มอย่างง่าย เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง ในการตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2.การปฏิบัติงานของครู ค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และ3.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ดังนี้ ด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X1) ด้านความเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (X7) และด้านความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (X5) มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลได้ร้อยละ 78 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0.37 ดังนั้น จึงสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z′= 0.70ZX1 + 0.19ZX7 + 0.11ZX5

Article Details

How to Cite
Panyahom, P., & Pongpittaya, K. (2023). TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING TEACHER’S PERFORMANCE IN SCHOOLS UNDER THE SINGBURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 14(1), 47–58. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/266081
Section
Research Article

References

กมลชนก ศรีสุดา (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลตามมาตรฐาน การศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยสกุล. (2562). การจัดการการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน).

ปธาน สุวรรณมงคล. (2559). หน่วยที่ 4 การออกแบบวิจัย.ในประมวลสาระชุดวิชา วิทยานิพนธ์ขั้น 1 หน่วยที่ 1-5.(พิมพ์ครั้งที่ 3,น.4-1-4-42). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชปัญญาชน.

ภูวิศ สิงสีดา. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(85), 97-109.

ลักขณา สักเข็มหาร. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2560 - 2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564, 26 มกราคม). มาตรฐานตำแหน่งและ มาตรฐานวิทยฐานะของ ครูและบุคลากร ทางการศึกษา เลขที่หนังสือ ศธ.0206.4/ว3.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.

-2570. https://policy.singprimary.go.th/o04/pan66-70

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.

สุนทร โคตรบรรเทา.(2560). ภาวะผู้นำในองค์การสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

สุนิสา เมฆวิลัย. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต), ราชบุรี.

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.