การใช้อำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

พรชัย เกิดสินธุ์
สมชัย ชวลิตธาดา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับการใช้อำนาจของผู้บริหาร 2. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 3. ระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครู จำนวน 340 ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Stepwise Multiple Regression Analysis ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร  โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อำนาจอ้างอิง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ อำนาจบีบบังคับ 2. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ได้รับการยอมรับนับถือ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความก้าวหน้า 3. การใช้อำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Article Details

How to Cite
เกิดสินธุ์ พ., & ชวลิตธาดา ส. (2024). การใช้อำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 15(1), 55–64. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/273455
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ธร สุนทรายุทธ. (2556). ทฤษฎีองค์กรและพฤติกรรม หลักการทฤษฎีการวิจัยและการปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

พรพิมล ชำนาญพล. (2556). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

สุพิขชา มากะเต. (2558). การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูปฏิบัติการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรพรรณ คํามา. (2559). การใช้อำนาจของผู้บริหารทีส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)

Association. Herzberg, Frederick and others. (1959). The Motivation to work. New York : John Wiley and Sons.

French, J.R. & Raven, B.H. (1968). The bases of social power in Darwin Cartwright and Alvin Zander group dynamics : Research and theory. New York : Harper and Row.

Wikaiwaraporn, T., Yamchuti, U. . ., Indarasompun , W. ., & Womgsamut, P. . (2023). Academic Leadership of School Principals and Learning Organization in the Basic Educational Schools under the Bangkok Metropolitan Administration, North Krung Thon Group. Journal of Modern Learning Development, 8(7), 98–114.Retrieved from https://so06.tcithaijo.org/index.php/- jomld/article/view/260898