การสร้างความปรองดองในชาติโดยอาศัยหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า

Main Article Content

กรุณา มธุลาภรังสรรค์
ทองใบ ธีรานันทางกูร
เจริญ ทุนชัย

บทคัดย่อ

        แนวคิดในการสร้างความปรองดอง โดยอาศัยหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของชาวพุทธ ได้ให้คำนิยามของความปรองดองไว้ว่า ความปรองดอง คือ กระบวนการแห่งการดำรงไว้ หรือการรื้อฟื้นซึ่งความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างคู่ปรปักษ์ในเหตุการณ์ของความพิพาทหรือ           ความขัดแย้งกัน ความปรองดองนี้เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต้องให้เกิดมีขึ้นด้วยการพยายาม ให้ความบาดหมางและความขัดแย้งมีความลดน้อยหรือหมดไป ซึ่งเป็นหลักการที่สามารถนำไปใช้ในการสร้างความปรองดองในชาติที่เกิดความแตกแยกทางการเมืองได้ ความปรองดองได้แก่กระบวนการต่างๆ    ที่ป้องกันแก้ไขไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยการสร้างสันติภาพ หยุดยั้งวงจรความรุนแรง และสร้างสถาบันที่เป็นประชาธิปไตยให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ในส่วนของแนวทางการปฏิบัตินั้นเป็นที่ยอมรับว่าอาจไม่ง่ายนักที่จะสามารถทำตามแนวคิดทฤษฎีของการปรองดอง เนื่องจากกระบวนการปรองดองไม่สามารถแยกออกจากสังคมที่มีปัญหาความขัดแย้งและความหวาดกลัวอย่างรุนแรงได้ การปรองดองเป็นกระบวนการที่ยากลำบาก ยาวนาน คาดเดาได้ยากและเกี่ยวข้องกับ    การวางแผน ขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสม และต้องทำอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เช่น การมีสันติธรรมแทนที่จะแก้แค้น การจัดการความทรงจำร่วมกัน และสร้างการอธิบายจากมุมมองต่างๆ ของความขัดแย้งอย่างเท่าเทียมกัน เป็นต้น

Article Details

How to Cite
มธุลาภรังสรรค์ ก. ., ธีรานันทางกูร ท. ., & ทุนชัย . เ. (2024). การสร้างความปรองดองในชาติโดยอาศัยหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 15(2), 137–150. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/276877
บท
บทความวิชาการ

References

ชญาดา เข็มเพชร. (2565). การสร้างความปรองดองสมานฉันท์สำหรับเยาวชนไทยโดยใช้หลักบวร: บ้าน วัด โรงเรียน . วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(2), 1-10.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2546). ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพมหานคร: นานมีพับลิเคชั่นส์.

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ 25 สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต.ราชกิจจานุเบกษา 25 กุมภาพันธ์ 2564 เล่ม 138

ตอนพิเศษ 44 ง (ฉบับปรับปรุง)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์. อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2550). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือการแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 3).ขอนแก่น : ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

วุฒิสาร ตันไชย และคณะ. (2556). การสร้างความปรองดองแห่งชาติ. (รายงานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพลักษณ์.

สถาบันพระปกเกล้า (2555). รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ. รายงานวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง

แห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร.

อำนวย เถาตระกูล และคณะ. (2562). รายงานการประเมินวิเคราะห์ปัจจัยแนวโน้มของปัญหาที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง: โครงการสำรวจทัศนคติของประชาชน ภายใต้

โครงการสร้างความรักความปรองดองในสังคม ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดความขัดแย้ง.กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพ

ประเทศไทย มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

การปรองดอง จากวิกิพีเดีย.สืบค้น 7 มีนาคม พ.ศ. 2567.จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี https://th.wikipedia.org/wiki/การปรองดอง