ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารจัดการสมรรถนะของบุคลากร เพื่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, การบริหารจัดการสมรรถนะของบุคลากร, ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสนับสนุนการบริหารจัดการ สมรรถนะการบริหารจัดการ สมรรถนะการปฏิบัติงานและประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสนับสนุนการบริหารจัดการ สมรรถนะการบริหารจัดการ และสมรรถนะการปฏิบัติงาน ที่มีผลต่อประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3) สร้างแผนภาพเส้นทางและน้ำหนักของตัวชี้วัดปัจจัยสาเหตุของประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 878 คน จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 719 แห่ง โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.6 - 1.00 และค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.84 - 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของการสนับสนุนการบริหารจัดการ สมรรถนะการบริหารจัดการ สมรรถนะการปฏิบัติงาน และประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เท่ากับ 3.81 (S.D. = 0.47), 3.89 (S.D. = 0.42), 3.98 (S.D. = 0.41), และ 3.72 (S.D. = 0.36) 2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสนับสนุนการบริหารจัดการ สมรรถนะการบริหารจัดการ และสมรรถนะการปฏิบัติงาน ที่มีผลต่อประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่า มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 56.71, df = 43, p = 0.078, GFI = 0.99, RMSEA = 0.019) และ 3) แผนภาพเส้นทางและน้ำหนักของตัวชี้วัดปัจจัยสาเหตุของประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจาก สมรรถนะการปฏิบัติงาน สมรรถนะด้านการบริหารจัดการ และการสนับสนุนการบริหารจัดการ มีค่าอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.86, 0.78, และ 0.73 และอธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 91 ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเน้นการสนับสนุนการบริหารจัดการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
References
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ศรีอนันต์การพิมพ์.
บุญนริศ สายสุ่ม. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีอนามัยตามการรับรู้ของหัวหน้าสถานีอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุข, 40(3): 257-268.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2537). การวัดสถานะทางสุขภาพ : การสร้างมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสอบถาม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2559 - 2569. เรียกใช้เมื่อ 22 กรกฎาคม 2563 จาก https://kb.hsri.or.th /dspace/handle/11228/4411?locale-attribute=th
สำนักงานเขตบริการสุขภาพที่ 11. (2563). รายงานผลการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจำปี 2561. เรียกใช้เมื่อ 22 กรกฎาคม 2563 จาก https://do11.new.hss.moph.go.th
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). กรอบยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย พ.ศ. 2559 - 2563. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สุภมาส อังศุโชติ. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: เจริญมั่นคงการพิมพ์.
Boyatzis, R. E. (1982). A Model of Effective Performance. New York: John Wiley and Sons Inc.
Boyatzis, R. E. (2009). The Competent Manager: A Model of Effective Performance. New York: John Wiley and Sons Inc.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Spencer, L. M. & Spencer, S. M. (1993). Competence at Work : Models for Superior Performance. Retrieved April 6, 2019, from www.joe.org/joe/1999 december/iw4.html
Tripathi, K. & Agrawal, M. (2014). Competency – Based Management in Organizational Context: A Literature Review. Global Journal of Finance and Management, 6(4), 349-356.
United Nation Industrial Development Organization. (2002). UNIDO Competencies. Retrieved April 6, 2019, from http://www.unido.org 2002