การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์ และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • สุธารัตน์ สมรรถการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิชัย เสวกงาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อัมพร ม้าคนอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์, แนวคิดรูปแบบการแปลงของเลช, มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทำให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถ่องแท้ ที่จะทำให้ผู้สอนสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานใน             การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้องและการกำหนดองค์ประกอบของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ 2) ระยะที่ 2 การสร้างและประเมินรูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน คู่มือและแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้              การวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่                 1) การกระตุ้นความสงสัย 2) การวางแผนเพื่อปรับมโนทัศน์ 3) การปรับมโนทัศน์โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย 4) การสรุปความหมายของมโนทัศน์ใหม่ และ 5) การนำไปใช้ ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.66, S.D. = 0.51) ผู้สนใจที่จะนำรูปแบบการเรียนการสอนนี้ไปใช้ ควรศึกษาคู่มือการใช้รูปแบบ การเรียนการสอนอย่างละเอียด เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน

References

ชยานันต์ จิรสินกุลโรจน์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความคงทุนในการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2561 จาก http://www.niets.or.th.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สิริพร ทิพย์คง. (2558). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ความรู้คณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร ม้าคนอง. (2558). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aprea, C. (2015). Secondary school students’ informal conceptions of complex economic phenomena. International Journal of Educational Research, 69(2015), 12-22.

Duit, R. & Treagust, D. F. (2003). Conceptual change: a powerful framework for improving science teaching and learning. International Journal of Science Education, 25(6), 671 - 688.

Gooding, J. & Metz, B. (2011). From misconceptions to conceptual change: Tips for identifying and overcoming students’ misconceptions. The Science Teacher, 78(4), 34-37.

Hallett, D. H. (2001). Achieving numeracy: The challenge of implementation. In L.A. Steen. (Ed.), Mathematics and Democracy: The case for Quantitative Literacy (pp. 93-98). Princeton NJ: National Council of Education and the Disciplines.

Lesh, R. (2000). Conceptual and procedural understanding in middle school Mathematic Mathematics in middle school. Reston: NCTM.

Park, M. S. (2013). Professional Development and Teacher Change: Teachers’ Practices and Beliefs about Using Multiple Representations in Teaching Mathematics. Retrieved December 20, 2014, from http://conservancy.umn.edu/bitstream /handle/11299/159129/Park_umn_0130E_14076.pdf?sequence=1

Posner et al. (1982). Accommodation of a scientific conception: Toward a theory conceptual change. Science Education, 66(2), 211-227.

Stofflett, R. T. (1994). The accommodation of science pedagogical knowledge: The application of conceptual change constructs to teacher education. Journal of Research in Science Teaching, 31(8), 787-810.

Wade, R. C. (2012). Conceptual change in elementary social studies: A case study of fourth graders' understanding of human rights. Theory and Research in Social Education, 22(1), 74-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2022

How to Cite

สมรรถการ ส., เสวกงาม ว. ., & ม้าคนอง อ. . (2022). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์ และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(4), 259–276. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/255222

ฉบับ

บท

บทความวิจัย