ศักยภาพด้านพลังงานของถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตถ่านอัดแท่งและประเมินประสิทธิภาพการใช้งานของถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่ง (Delonix regia (Bojer ex Hook.) Raf.) และฝักมะค่าโมง (Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib) สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนโดยนำฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงมาเผาให้เป็นถ่าน แล้วจึงนำมาบดให้เป็นผง ผสมผงถ่านกับกาวแป้งเปียก (กิโลกรัม ต่อ ลิตร) 3 อัตราส่วน คือ 1:1, 1.5:1 และ 2:1 แล้วอัดให้เป็นแท่ง จากนั้นนำไปทดสอบคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงของถ่านอัดแท่งโดยใช้วิธีวิเคราะห์ตามมาตรฐาน ASTM และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ความร้อนด้วยการทดสอบต้มน้ำ ผลการศึกษาพบว่าถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงในทุกอัตราส่วนมีค่าความชื้นและค่าความร้อนผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และพบว่าถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงที่อัตราส่วน 2:1 แสดงคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงได้ดีที่สุด โดยมีค่าความชื้นและการปล่อยสารระเหยน้อยที่สุด และพบว่าให้ค่าคาร์บอนคงตัวและค่าความร้อนสูงที่สุดอีก ถ่านอัดแท่งที่อัตราส่วน 2:1 ยังแสดงค่างานและค่าประสิทธิภาพการใช้ความร้อนสูงที่สุด ในระหว่างกระบวนการเผาไหม้ ถ่านอัดแท่งทั้งสองชนิดในทุกอัตราส่วนยังติดไฟได้ดี ไม่แตก ไม่ประทุ ไม่มีควันขณะใช้งาน ดังนั้นถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงที่อัตราส่วน 2:1 จึงมีความเหมาะสมที่สุดในการเลือกนำมาใช้เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง เนื่องจากใช้กาวแป้งเปียกในปริมาณน้อย แต่ได้ปริมาณของถ่านอัดแท่งมากที่สุด อีกทั้งยังมีคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงและประสิทธิภาพการใช้ความร้อนสูงที่สุด ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงในการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงไปผลิตเป็นถ่านอัดแท่งทดแทนถ่านไม้เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มในครัวเรือน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร
แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้
1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component > Article Text
2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component > Other
ดาวน์โหลด ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
References
American Society for Testing and Materials. (1996). Annual Book of American Standard Testing Method. Vol.05.06 MD: ASTM.
Anantanukulwong, R., Chemae, R. and Sareanu, N. (2019). Production of charcoal from agricultural residues (in Thai). YRU Journal of Science and Technology, 4(1), 47-53.
Boonchom, K. and Chaisompan, N. (2020). Study of charcoal briquette from longan wood (in Thai). Naresuan Phayao Journal, 13(2): 51-56.
Chaichana, T., Waewsak, J., Kaew-On, J. and Onthong, U. (2014). Fuel properties of mangosteen pericarp charcoal (in Thai). Thaksin University Journal, 17(3), 29-36.
Homhual, S. (2010). Makamong (in Thai). Retrieved 19 August 2021, from Herbal Database, Faculty of Pharmacy, Ubon Ratchathani University: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&p
id=260.
Janchaiyaphoom, H. (2018). Charcoal briquettes from tamarind shell (in Thai). In Proceedings of 3rd Minutes and National Research Presentations, Ratchathani Academic (pp. 288-296). Ubon Ratchathani: Ratchathani University.
Jutajan, W. (2019). A study of charcoal burning process and properties of briquetted charcoal from vetiver grass (in Thai). Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, 9(2), 135-146.
Ministry of Energy. (2020). Alternative Energy Development Plan 2018-2037 (in Thai). Retrieved 10 February 2022, from 20201021_TIEB_AEDP2018.pdf: https://www.dede.go.th/download/Plan_62/20201021 _TIEB_ AEDP2018.pdf.
Ngamlert, A., Saripan, K. and Pengngiw, P. (2019). The optimum binder for the production of charcoal briquettes from eucalyptus bark (in Thai). Thepsatre I-TECH Journal, 14(2), 86-97.
Phutteesakul, R. (2010). The production of charcoal briquette by coconut shell and cassava rhizome (in Thai). Master’s Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University.
PlantNet. (2022). Delonix regia (Bojer ex Hook.) Raf. Retrieved 10 April 2022, from Invasive plants: https://id entify.plantnet.org/invasion/species/Delonix%20regia%20(Bojer%20ex%20Hook.)%20Raf./data.
Provincial Energy Office of Nakhonpathom (2018). Manual of 200 liters charcoal kiln: Wood vinergar production (in Thai). Nakhonpathom: Provincial Energy Office of Nakhonpathom, Ministry of Energy.
Raikham, C., Khamwan, Y., Chanthawongrit, P. and Kaewmuang, S. (2017). Study the effect of molasses ratio to fuel properties made from mangosteen and rambutan shell (in Thai). Science and Technology Nakhon Sawan Rajabhat University Journal, 9(10), 79-90.
Sawekwiharee, S. (2012). Potential Energy of Fuel Briquettes from Mangosteen Shell (in Thai). Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.
Tamilvanan, A. (2013). Preparation of biomass briquettes using various agro-residues and waste papers. Journal of Biofuel, 4(2), 47-55.
Thai Industrial Standards Institute. (2004). Community products standard of charcoal briquettes 238/2004 in Thai). Retrieved 15 December 2019, from Thai Community Products Standards: http://tcps.tisi.go.th
/public/StandardList.aspx.
Ussawarujikulchai, A., Semsayun, C., Prapakdee, N., Pieamsuwansiri, N. and Chuchat, N. (2011). Utilization of durian and mangosteen peels as briquette fuel. In Proceedings of 49th Kasetsart University Annual Conference (pp. 162-168). Bangkok: Kasetsart University.
Wirunphan, K., Saiplean, T. and Jaichompoo, P. (2017). Production of compressed charcoal fuel from the waste materials collected after processing Khao-Larm (in Thai). RMUTL Engineering Journal, 2(1), 1-15.
Wongkhamchan, B. and Rungratanaubon, T. (2018). Briquette fuel from waste wood pallet (in Thai). Thai Journal of Forestry, 37(1), 143-152.