ผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากกิจกรรมการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

Main Article Content

ศาสตรา บุญญาจันทร์
ประสาน มืดภา
ศิริวรรณ คลังทอง
ธนวิทย์ จีรุพันธ์
ศราวุธ แสนการุณ
สุพจน์ สีบุตร

บทคัดย่อ

การออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้การสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์มีความสำคัญ เนื่องจากการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ดังนั้นเป้าหมายทางการศึกษาจึงคาดหวังว่านักเรียนจะสามารถบรรลุความสามารถนี้ อย่างไรก็ตามกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนในการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์นั้นไม่ค่อยได้รับการออกแบบในโรงเรียนโดยเฉพาะในประเทศไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนกระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในเรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยมีนักเรียนร่วมวิจัยจำนวน 36 คน ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 6 กิจกรรม เพื่อสะท้อนผลการสร้างตัวแบบ มีการวิเคราะห์โปรโตคอลการทำกิจกรรมกลุ่มของนักเรียน และเพื่อสะท้อนผลของกิจกรรมต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนมีการทดสอบปรนัยเกี่ยวกับเนื้อหาก่อนเรียนและหลังเรียนจำนวน 20 ข้อ ผลจากการวิเคราะห์โปรโตคอลที่ได้นำเสนอแสดงถึงการบรรลุเป้าหมายของการวิจัยที่ต้องการให้เกิดกระบวนการสร้างตัวแบบในชั้นเรียน และจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์พบว่าการผนวกกิจกรรมการสร้างตัวแบบเข้าไปในห้องเรียนมีผลเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ผลการวิจัยนี้นำไปสู่แนวทางที่ครูผู้ซึ่งสนใจจะนำไปต่อยอดปรับปรุงเพื่อใช้ออกแบบกิจกรรมการสร้างตัวแบบสำหรับพัฒนานักเรียนในบริบทดังกล่าว

Article Details

How to Cite
บุญญาจันทร์ ศ., มืดภา ป., คลังทอง ศ., จีรุพันธ์ ธ., แสนการุณ ศ., & สีบุตร ส. (2022). ผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากกิจกรรมการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 5(2), 299–309. https://doi.org/10.14456/jsse.2022.32
บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

Blum, W. (2009). Mathematical modeling: can it be taught and learn? Journal of Mathematical Modeling and Application, 1(1), 45-58.

Chan, C.M.E. (2009). Mathematical modelling as problem solving for children in the Singapore mathematics classroom. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 32(1), 36-61.

Cheng, A.K. (2001). Teaching mathematical modelling in Singapore schools. Mathematics Education, 6(1), 63-75.

Eric, C.C.M. (2009). Mathematical modelling as problem solving for children in the Singapore mathematics classrooms. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 33(1), 36-61.

Ferri, R.B. (2017). Learning how to teach mathematical modeling in school and teacher education. Cham: Springer.

Geiger, V., Galbraith, P., Niss, M., and Delzoppo, C. (2021). Developing a task design and implementation framework for fostering mathematical modelling competencies. Educational Studies in Mathematics, 109(2), 1-24.

Greefrath, G., and Vorhölter, K. (2016). Teaching and learning mathematical modelling: Approaches and developments from German speaking countries. Cham: Springer.

Kang, O-K. and Noh, J. (2012). Teaching mathematical modelling in school mathematics. Proceedings of 12th International congress on Mathematics Education (pp. 8-15). July 8- 15, 2012. Seoul: Seoul National University.

Lingefjärd, T. (2012). Learning mathematics through mathematical modelling. Journal of Mathematical Modelling and Application, 1(5), 41-49.

Schukajlow, S., Kolter, J., and Blum, W. (2015). Scaffolding mathematical modelling with a solution plan. ZDM Mathematics Education, 47(7), 1241-1254.

Seebut, S. (2012). An example of hands-on activities to learn mathematical models for middle grade students. Far East Journal of Mathematical Education, 9(2), 141-149.