การพัฒนาสื่อดิจิทัลและการพัฒนาโลโก้ข้าวไรซ์เบอรี่ วิสาหกิจชุมชนโครงการข้าวไรซ์เบอรี่จังหวัดนครปฐม ตำบลห้วยพระ จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การพัฒนาสื่อดิจิทัล, ข้าวไรซ์เบอรี่และน้ำมันรำข้าว ,ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากการเกษตรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ1) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโครงการข้าวไรซ์เบอรี่ จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางด้านการพัฒนาสื่อการตลาดดิจิทัลและด้านพัฒนา โลโก้ทาง Facebookของผู้บริโภค (Gen Zและ Babyboom ) 3) เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ทางช่องทางออนไลน์และเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ่านสื่อดิจิทัลแอพพลิเคชั่นรูปแบบการนำเสนอผ่าน Facebook (Gen Z และ Baby Boom) เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methods) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย คือผู้บริโภคที่พบสื่อประชาสัมพันธ์ ข้าวไรซ์เบอรี่และน้ำมันรำข้าวที่มาจากการคำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง 300 ตัวอย่าง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสารและวรรณกรรม มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) พบว่าผลิตภัณฑ์มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพที่ได้รับแต่ขาดประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2) พบว่าGen Z พึงพอใจการพัฒนาสื่อการตลาดดิจิทัลทาง Facebook ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.50 และรวมมากที่สุดเป็นระดับแรกของด้านการจัดทำสื่อข้อมูลข่าวสารเนื้อหาต่างๆ มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.56 และ Gen B พึงพอใจการพัฒนาสื่อการตลาดดิจิทัลทาง Facebook ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.74 และรวมมากที่สุดเป็นระดับแรกของ ด้านการจัดทำสื่อ คือ QR CORDมีค่าเฉลี่ย 4.85 3) พบว่า (Gen Z) มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด เรื่องแอพพลิเคชั่น Facebook ในด้านรูปแบบการนำเสนอวีดีโอ และการเข้าถึงPage Facebook เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อกับผู้ใช้ PageFacebook และพบว่า (Gen B : Generation BabyBoom) มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด เรื่องแอพพลิเคชั่น Facebook ในด้านรูปแบบการนำเสนอภาพอินโฟกราฟฟิก และการสแกน QR CORD ที่สามารถสะดวกต่อการสั่งซื้อสินค้าสะดวกมากยิ่งขึ้น