การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริง : กรณีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล จินดารัมย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ธมกร ทยาประศาสน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ, การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้และรูปแบบการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริง 2) ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริง 3) พัฒนารูปแบบการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริงของคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร และ 4) นำรูปแบบการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริงของคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 131 รูป/คน ผลการศึกษาองค์ความรู้และรูปแบบการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริงและการองค์ความรู้และรูปแบบการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริง พบว่า รูปแบบการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริง มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเมื่อพิจารณาในแต่ละขั้นตอนของรูปแบบ พบว่า ขั้นตอนที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การกำหนดวิธีการและเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และประเมินผลการปฏิบัติภาระงานตามสภาพจริง, การศึกษาของหลักสูตรและกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับนักศึกษา, การกำหนดลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง, การกำหนดภาระงานการเรียนรู้ตามสภาพจริง, และการสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะ กระบวนการและความสนใจของนักศึกษา ตามลำดับ ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริง ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 84.67/85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (80/80) คือ (1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้นของนักศึกษาก่อนเรียนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.65 และหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.10 (2) ด้านทักษะกระบวนการทางรัฐศาสตร์ นักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการประเมินตามสภาพจริงมีพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางรัฐศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการประเมินครั้งที่ 3 นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางรัฐศาสตร์ ดีกว่าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ส่วนครั้งที่ 2 กับ ครั้งที่ 1 ไม่พบความแตกต่างกัน (3) ด้านความสนใจในการเรียนด้านรัฐศาสตร์ ความสนใจในการเรียนสาขาวิชารัฐศาสตร์ของนักศึกษาก่อนเรียนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 81.72 และหลังเรียนอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 109.70 ตามลำดับ นักศึกษามีความสนใจในการเรียนสาขาวิชารัฐศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรายบุคคลในการเรียนทั้ง 3 ครั้ง นักศึกษามีพฤติกรรมทางการเรียนในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) ระหว่าง 12.85–13.92 จากนั้นผู้วิจัยได้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ( ) ทั้ง 3 ครั้ง พฤติกรรมการเรียนรายบุคคลของนักศึกษาทั้ง 3 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-10