หลักธรรมที่ปรากฏในธรรมบทเรื่องพระจักขุบาลเถระที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อและวัฒนธรรมเพื่อการประยุกต์ใช้ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระมหาธีระวัฒน์ ธิติโชติ (กมลวิบูลย์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • จตุภูมิ แสนคำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • จุมพล สุยะต๊ะ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ธรรมบท, พระจักขุบาลเถระ, ความเชื่อและวัฒนธรรมไทย

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มุ่งนำเสนอหลักธรรมที่ปรากฏในธรรมบทเรื่องพระจักขุบาลเถระที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อและวัฒนธรรมเพื่อการประยุกต์ใช้ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาความหมาย ความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมจากเรื่องพระจักขุบาลเถระที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ และวัฒนธรรมในสังคมไทย 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการนำหลักธรรมที่ได้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสังคมไทยในยุคปัจจุบัน

          จากการศึกษาได้ข้อสรุปว่า 1) คัมภีร์อรรถกถาธรรมบท เป็นการนำบทพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นพระคาถาย่อ ๆ มาอธิบายขยายความให้เข้าใจง่าย สามารถเข้าถึงผู้อ่านได้ทุกระดับชั้น เป็นแม่แบบที่สำคัญในการปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีของหลายภูมิภาคทั่วโลกที่รับอารยธรรมอินเดีย 2) หลักธรรมที่ปรากฏในเรื่องพระจักขุบาลที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อและวัฒนธรรมไทยมี 3 เรื่อง คือ ความเชื่อเรื่องเทวดา ความเชื่อเรื่องการอธิษฐาน และความเชื่อเรื่องกรรม 3) หลักธรรมที่ได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสังคมไทยได้ โดยใช้สติปัญญาเป็นเครื่องกำกับ

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), (2543), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______. (2555). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธรรมะอินแทรนด์. น. 331 ยังไม่มีในบรรณานุกรม

มหามกุฏราชวิทยาลัย, (2550). ธมฺมปทฏฐกถา (ปฐโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

_______. (2550). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนามีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด.

วัชระ งามจิตรเจริญ, (2552). พุทธศาสนาเถรวาท. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2534). ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (อุปสมมหาเถร), (2545). งานวิจัยการศึกษาเชิงวิเคราะห์ พระคาถาธรรมบท. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

เสถียร พันธรังษี, (2534). ศาสนาโบราณ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

F. Max Muller. (1973). The Dhammapada : A Collection of Verses, Delhi : Motilal Banarsidass, Introduction.

G.P. Malalasekara, (1958). The Pali Literature of Ceylon, Colombo : M.D. Gunasena & Co. Ltd.

Wilhelm Geiger, (1968). Pali Literature and Language, Delhi: Oriental Books Reprint.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29