ลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการล่ามทางโทรศัพท์ ในบริบทตำรวจท่องเที่ยวไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การใช้ล่ามทางโทรศัพท์ถือว่าเป็นตัวเลือกในการเข้าถึงล่ามแปลภาษาที่เหมาะสมในสถานการณ์ฉุกเฉินและสะดวกในกรณีที่ไม่มีล่ามในพื้นที่หรือล่ามไม่สามารถเดินทางมาถึงได้ แต่จากการศึกษาค้นคว้ายังไม่พบหลักฐานการศึกษาเชิงวิชาการเกี่ยวกับการล่ามทางโทรศัพท์ในประเทศไทยมาก่อน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อนำร่องศึกษาลักษณะการปฏิบัติงานของล่ามทางโทรศัพท์ในบริบทตำรวจท่องเที่ยวไทยและศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ล่ามผ่านโทรศัพท์ โดยได้สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ล่ามในศูนย์รับแจ้งเหตุด่วนต ารวจท่องเที่ยวไทยจำนวน 10 คน และให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ล่ามท าแบบสอบถามอีก 15 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่สื่อสารภาษาต่างประเทศของศูนย์รับแจ้งเหตุด่วนตำรวจท่องเที่ยวไทยปฏิบัติงานใน 2 บทบาทคือผู้รับแจ้งเหตุส่งประสานและให้ข้อมูล และทำหน้าที่ล่ามให้กับนักท่องเที่ยวหรือตำรวจตามท้องที่ต่างๆ ข้อจำกัดที่เห็นเด่นชัดของล่ามทางโทรศัพท์คือการมองไม่เห็นคู่สนทนา ซึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ล่ามได้แก้ไขโดยการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ การศึกษากรณีที่เกิดขึ้นบ่อยเพื่อที่ช่วยให้ทำความเข้าใจสถานการณ์ อีกทั้งการตรวจสอบความถูกต้องของสารกับคู่สายก่อนทำหน้าที่ล่ามก็ช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
Article Details
References
ป.กก.แถลงข่าว สถานการณ์ท่องเที่ยว. (2560, ธันวาคม). สืบค้น 23 พฤษภาคม 2560, จากhttps://www.mots.go.th/ewt_news.php?nid=9886& filename=index
Gracia-García, R. A. (2002). Telephone interpreting: A review of pros and cons. In S. Brennan (Ed.), Proceedings of The 43rd Annual Conference (pp. 195-216). Alexandria, Virginia: American Translators Association.
Hlavac, J. (2013). Should interpreters be trained and tested in telephone and video-link interpreting? Responses from practitioners and examiners. International Journal of Interpreter Education, 5(1), 34-50. Kelly, N. (2008). Telephone interpreting. A comprehensive guide to the profession. Bloomington: Trafford Publishing.
Mintz, D. (1998). Hold the phone: Telephone interpreting scrutinized. Proteus, 7(1)
Ozolins, U. (2011). Telephone interpreting: Understanding practice and identifying research needs. The international journal of translation and interpreting research, 3(2), 33-47.
Rosenberg, B. A. (2007). A data driven analysis of telephone interpreting. In C. Wadensjö, B. Englund Dimitorva and A-L. Nilsson (Eds.), The critical link 4. Professionalisation of interpreting in the community (pp. 65-76). Amsterdam/ Philadelphia: Benjamins.
Technical Committee. (2000, March 24). What about monitors in SI booths?. Retrieved December 9, 2017, from https://aiic.net/p/148