การแปลกับความเป็นสมัยใหม่ของจีน

Main Article Content

รัชกฤช วงษ์วิลาศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งอภิปรายบทบาทของการแปลกับความเป็นสมัยใหม่ในสังคมจีนช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 การศึกษากิจกรรมการแปลงานตะวันตกของจีนจากนักแปลคนสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ เหยียนฟู่และหลินซูได้แสดงให้เราเห็นปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมต่างชาติเนื่องจากงานแปลถูกนำมาใช้ทั้งในฐานะที่เป็นพื้นที่แห่งการน้อมรับ “ความเป็นสมัยใหม่” จากโลกตะวันตก และก็เป็นพื้นที่แห่งการต่อต้าน “อำนาจครอบงำทางวัฒนธรรม” ของโลกตะวันตกไปพร้อมกันด้วย

Article Details

บท
บทความ

References

กนกพร นุ่มทอง. (2554). ตำรา การแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
กวนอ้ายเหอ. (2013). 中国近代文学史 (ประวัติวรรณคดีจีนยุคใกล้). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ Zhonghua Book.
ถูปิงหลาน. (2012). 清末译者的翻译伦理研究 (1898-1911) (การศึกษา จริยธรรมการแปลของนักแปลในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิง (1898-1911)). ฉางซา: สำนักพิมพ์หูหนานเหรินหมิน.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2558). เปิดพื้นที่อย่างใหม่ในทำเนียบวรรณกรรมไทย. ใน ทักษ์เฉลิมเตียรณ. อ่านจนแตก: วรรณกรรม ความทันสมัย และความเป็นไทย (พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์, ผู้แปล) (น. 66-103). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2560). แว่นวรรณคดีทฤษฎีร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นาคร.
ธีรยุทธ บุญมี. (2552). โลก Modern & Post Modern. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สายธาร.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2560). บทนำ: จากความเป็นสมัยใหม่สู่ความ (ไม่) เป็น สมัยใหม่. ใน ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. ความ (ไม่) เป็นสมัยใหม่: ความ เปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย (น. 3-26). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
แพร จิตติพลังศรี. (2560). วรรณกรรมกับการแปล. ใน คณาจารย์ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ. วรรณคดีทัศนา 2: วรรณกรรมข้ามศาสตร์(น. 65-94). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
มิตเตอร์, รานา. (2558). จีนสมัยใหม่: ความรู้ฉบับพกพา. แปลโดย กิตติพงศ์สนธิ สัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์. ลู่หยาง และหวังอี้. (2015). 文化研究导论 (ปริทัศน์วัฒนธรรมศึกษา). เซี่ยงไฮ้: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น.
หยางลี่หัว. (2011). 中国近代翻译家研究 (การศึกษานักแปลจีนยุคใกล้). เทียน จิน: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทียนจิน. หยางเหลียนเฟิน. (2003). 晚清至五四:中国文学现代性的发生 (จากปลาย ราชวงศ์ชิงถึง 4 พฤษภา: การถือกำเนิดของความเป็นสมัยใหม่ในวรรณกรรม จีน). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง.
หวังเต๋อเวย. (1998). 被压迫的现代性——没有晚清,何来五四?(ความเป็นสมัยใหม่ที่ถูกกดทับ: ไม่มีปลายราชวงศ์ชิงแล้วจะมี 4 พฤษภาคมได้อย่างไร). ใน หวังเต๋อเวย. 想象中国的方法:历史•小说•叙事 (วิธีการจินตนาการ ประเทศจีน: ประวัติศาสตร์ นวนิยาย เรื่องเล่า). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ SDX Joint Publishing.